รีไฟแนนซ์บ้าน จาก 2 คนเป็นคนเดียว – ต้องการถอนชื่อผู้กู้ร่วมออกให้เหลือคนเดียว จะรีไฟแนนซ์กับธนาคารไหน ที่ให้วงเงินสูง ดอกเบี้ยต่ำ หาคำตอบได้ที่ iMoney
รีไฟแนนซ์บ้าน จาก 2 คน เป็นคนเดียว – ใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์บ้านกันบ้าง หลายคนที่ตอนทำเรื่องซื้อบ้านนั้นก็ว่ายุ่งยากแล้วกว่ากู้ผ่านมาได้ บางคนก็จะต้องกู้ร่วมกับพี่น้อง พ่อแม่ หรือสามีภรรยาบ้าง เพราะลำพังรายได้ต่อเดือนนั้นอาจจะทำให้ได้วงเงินที่น้อย หรือไม่ผ่านการอนุมัติเลยก็มี ฉะนั้นการกู้ร่วมจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เลือกตอนขอสินเชื่อบ้านในครั้งแรกก็เพื่อจะให้ผ่านมาได้ แต่เมื่อผ่านไป 2 – 3 ปีแล้ว จากดอกเบี้ยโปรโมชั่นช่วงๆแรกก็เริ่มที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้เราจะต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยที่สูง จ่ายเดือนในแต่ละงวดก็สูง ทำให้หลายคนจึงเลือกวิธีการรีไฟแนนซ์บ้านทั้งๆที่จะต้องเสียเวลาไปติดต่อกับธนาคารต่างๆ เพื่อที่จะมาเปรียบเทียบโปรโมชั่นส่วนลดของดอกเบี้ยในช่วง 3 ปีแรกว่าธนาคารไหนให้ถูกที่สุด และมีธนาคารไหนบ้างที่ฟรีค่าจดจำนอง ค่าธรรมเนียมต่างๆที่จะเกิดขึ้นเมื่อเรารีไฟแนนซ์บ้านไปแล้ว แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ตอนกู้สินเชื่อบ้านได้กู้ร่วมกัน แต่พอจะมารีไฟแนนซ์ก็อยากที่จะรีไฟแนนซ์บ้านคนเดียว เปลี่ยนจากชื่อผู้กู้ร่วมกัน 2 คน เหลือเพียงแค่คนเดียว เพราะการที่จะเปลี่ยนผู้กู้จาก 2 คนมาเดียว ใช่ว่าทุกธนาคารจะรับรีไฟแนนซ์ได้นะคะ บางธนาคารถ้าจะรีไฟแนนซ์บ้านก็จะต้องมาเป็นผู้กู้ร่วมด้วยเหมือนเดิม แต่วันนี้ iMoney จะได้รวบรวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านจากธนาคารต่างๆที่ให้คุณได้มารีไฟแนนซ์บ้าน จาก 2 คน เป็นคนเดียว จะมีธนาคารอะไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ
สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน จาก 2 คน เป็นคนเดียว จากธนาคารต่างๆ
ธนาคาร | ชื่อสินเชื่อ | จุดเด่น | เงื่อนไข | ดอกเบี้ย |
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | โครงการสินเชื่อชำระหนี้ค่าไถ่ถอนการขายฝากที่อยู่อาศัย ปี 2560 | กู้ง่าย วงเงินสูง ดอกเบี้ยต่ำ จ่ายน้อยผ่อนนาน มีเงินเหลือใช้ และฟรีค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ | จะต้องมีรายได้ประจำหรืออาชีพอิสระ | ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 1.00% ต่อปี หรือคิดเป็น 5.75% ต่อปี |
ธนาคารกรุงเทพ | สินเชื่อเพื่อรีไฟแนนซ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย | วงเงินกู้สูง ผ่อนจ่ายสบาย ดอกเบี้ยต่ำ เลือกผ่อนชำระได้ทั้งแบบขั้นบันได หรือแบบคงที่ฟรีค่าธรรมเนียมในการยื่นกู้ | จะต้องมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จะต้องมีประวัติการผ่อนชำระที่ดีในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา | เริ่มต้นอยู่ที่ 0.74% หรือสูงสุดอยู่ที่ MRR – 2.00% |
Credit : https://pixabay.com
รีไฟแนนซ์บ้าน จาก 2 คน เป็นคนเดียวกับโครงการสินเชื่อชำระหนี้ค่าไถ่ถอนการขายฝากที่อยู่อาศัย จากธนาคารอาคารสงเคราะห์
มีปัญหาเรื่องบ้านให้นึกถึงธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่อยากเห็นคนไทยไม่ว่าจะรวยหรือคนที่มีรายได้น้อยมีบ้านเป็นของตัวเอง มีสำหรับใครที่ต้องการถอนชื่อผู้ร่วมกู้ออกให้เหลือเพียงแค่ตัวเองเท่านั้น มาติดต่อกับธนาคารขอสินเชื่อโครงการสินเชื่อชำระหนี้ค่าไถ่ถอนการขายฝากที่อยู่อาศัย แต่ในการถอนชื่อร่วมออกนั้น ธนาคารเองก็จะประเมินจากรายได้ว่าคุณมีความสามารถในการจ่ายหรือไม่ ถ้าคุณเองก็มีรายได้สูงอยู่แล้ว แน่นอนการขอรีไฟแนนซ์บ้านจาก 2 คน เหลือเพียงคนเดียวนั้นก็ไม่มีปัญหาเลยค่ะ
หมวดหมู่ : รีไฟแนนซ์บ้าน ธอส
จุดเด่นของโครงการสินเชื่อชำระหนี้ค่าไถ่ถอนการขายฝากที่อยู่อาศัย
- อนุมัติให้วงเงินสูง 2 ล้าน
- จ่ายน้อย ผ่อนนาน 40 ปี
- ฟรีค่าธรรมเนียมการยื่นกู้
- ดอกเบี้ยต่ำอัตราเดียวตลอดสัญญา
วงเงินกู้ในการอนุมัติรีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส. : ธนาคารจะให้วงเงินอนุมัติสูงสุดไม่เกิน 2,000,000 บาท แม้ว่าจะเป็นวงเงินที่ไม่สูงมากแต่ก็เชื่อว่าสามารถตอบโจทย์ความต้องการกับกลุ่มคนที่อยากมีบ้านได้อย่างแน่นอน
ระยะเวลาในการผ่อนจ่าย : ธนาคารอาคารสงเคราะห์ให้ผ่อนได้นานสูงสุด 40 ปี โดยที่เมื่อนำระยะเวลาการผ่อนกับอายุมารวมกันจะต้องมีอายุไม่เกิน 70 ปี
อัตราดอกเบี้ยของการรีไฟแนนซ์บ้านจาก 2 คน เป็นคนเดียว ธนาคารอาคารสงเคราห์
- สำหรับโครงการสินเชื่อชำระหนี้ค่าไถ่ถอนการขายฝากที่อยู่อาศัย ปี 2560 นี้ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ MRR – 1.00 ต่อปี หรือเท่ากับร้อยละ 5.75 ต่อปี โดยธนาคารจะให้ดอกเบี้ยในอัตราตลอดทั้งสัญญา เว้นแต่ว่าถ้าอัตราดอกเบี้ย MRR มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นนั้น ดอกเบี้ยสินเชื่อนี้ก็จะปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งปัจจุบันดอกเบี้ย MRR = 6.75% ต่อปี
ทั้งนี้ ดอกเบี้ยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ย MRR ของธนาคารอาคารสงเคราะห์
เอกสารในการสมัครขอรีไฟแนนซ์บ้านจาก 2 คนเป็นคนเดียวกับ ธอส. ซึ่งจะมี 3 ส่วนหลักๆที่จะต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
- กรณีที่ผู้สมัครมีรายได้ประจำ เช่น พนักงานบริษัทเอกชนต่างๆ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ จะต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชนหรือจะเลือกใช้เป็นสำเนาบัตรข้าราชการของผู้สมัครก็ได้ โดยเอกสารสำเนาจะต้องเซ็นชื่อและสำเนาถูกต้องมาด้วย
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร โดยเอกสารสำเนาจะต้องเซ็นชื่อและสำเนาถูกต้องมาด้วย
- กรณีที่ผู้สมัครมีการเปลี่ยนชื่อ – สกุล จะต้องแนบเอกสารใบเปลี่ยนมาด้วย
- กรณีที่ผู้สมัครจดทะเบียนสมรสหรือหย่า ก็จะต้องเอกสารหลักฐานมาด้วย
- สลิปเงินเดือนหรือหนังสือรับเงินเดือนหรือหนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการ โดยให้ย้อนหลังได้ไม่เกิน 3 เดือน
- สำเนารายการเดินบัญชีเงินฝากธนาคารไหนก็ได้ที่มีเงินเดือนเข้าทุกเดือน ให้ย้อนหลัง 6 เดือน
- กรณีที่ผู้สมัครมีอาชีพอิสระ หรือทำธุรกิจส่วนตัว จะต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้สมัคร ให้เซ็นชื่อสำเนาถูกต้องและขีดคร่อมเขียนวัตถุประสงค์มาด้วย
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร ให้เซ็นชื่อสำเนาถูกต้องและขีดคร่อมเขียนวัตถุประสงค์มาด้วย
- สำเนารายการเดินบัญชีเงินฝากธนาคารไหนก็ได้ที่มีเงินหมุนเวียน ให้ย้อนหลัง 12 เดือน
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนพร้อมวัตถุประสงค์
- สำเนาทะเบียนการค้าที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์
- กรณีที่มีอาชีพอิสระ จะต้องแนบสำเนาใบประกอบวิชาชีพ
- เอกสารที่แสดงถึงหลักประกัน
- สำเนาสัญญากู้เงินพร้อมด้วยสำเนาสัญญาจำนองบ้านกับธนาคารเดิม
- สำเนาใบเสร็จในการจ่ายค่างวดสินเชื่อบ้านย้อนหลัง 1 หรือ 2 ปี
การชำระเงิน ธอส. : หากดำเนินเรื่องอนุมัติแล้ว จะต้องจ่ายงวดแรกภายใน 30 วัน ซึ่งจะนับตั้งแต่วันที่ไปรับเงินกู้มาจากธนาคาร และในงวดต่อไปก็จะต้องจ่ายทุกเดือนตามสัญญาจนกว่าครบ
นอกจากนี้แล้วในส่วนของช่องทางการจ่ายนั้น สามารถไปจ่ายได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์โดยตรง ซึ่งไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ซึ่งมีวิธีการให้เลือกมากกมาย ดังนี้
- จ่ายด้วยเงินสด หรือจ่ายเช็ค
- หักผ่านบัญชีบัญชีเงินฝากธนาคารอาคารสงเคราะห์
- เลือกจ่ายผ่านบัตร ATM ของธนาคารอาคารสงเคราะห์
- จ่ายผ่านเคาน์เตอร์การเงินนอกสถานที่ หรือสาขาย่อยของธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขา / จุดให้บริการ
นอกจากนี้แล้วถ้าไม่สะดวกก็ยังสามารถเลือกให้หักผ่านการหักบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือกระแสรายวันได้กับธนาคารอื่นๆ โดยจะต้องเสียค่าธรรมเนียม 10 บาท ดังนี้
- ธนาคารกรุงไทย
- ธนาคารกรุงเทพ
ช่องทางการสมัครรีไฟแนนซ์บ้าน จาก 2 คน เป็นคนเดียวกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ : สนใจสามารถติดต่อได้กับเจ้าหน้าที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้กับทุกสาขาทั่วประเทศ
Credit : https://pixabay.com
รีไฟแนนซ์บ้าน จาก 2 คน เป็นคนเดียวกับสินเชื่อเพื่อรีไฟแนนซ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย จากธนาคารกรุงเทพ
มองหาสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ที่ต้องการเปลี่ยนจาก 2 คนเป็น 1 คน iMoney ขอแนะนำเป็นสินเชื่อเพื่อรีไฟแนนซ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยธนาคารจะประเมินรายได้และความสามารถในการผ่อนจ่ายของคุณ ถ้าหากดูแล้วคุณมีกำลังในการจ่าย มีรายได้มากพอตามที่กำหนดก็จะสามารถทำเรื่องขอรีไฟแนนซ์บ้านได้ทันที แต่ในส่วนนี้อาจจะต้องมีการเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องของการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างคุณกับผู้กู้ร่วมเองด้วย โดยธนาคารจะให้วงเงินสูง 100% ของราคาประเมิน ไม่เพียงเท่านี้ยังสามารถขอกู้วงเงินเพิ่มเติมได้อีกหากมีความจำเป็นจะต้องใช้เงินก้อน ไม่ว่าจะนำมาต่อเติมบ้าน ซ่อมแซม หรือจะไปใช้จ่ายในวัตถุประสงค์อื่นๆก็ตาม ซึ่งธนาคารเปิดโอกาสให้ผ่อนจ่ายรายเดือนได้สบายๆนานถึง 30 ปีเลย
จุดเด่นของสินเชื่อเพื่อรีไฟแนนซ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารกรุงเทพ
- กู้ง่าย อนุมัติเร็วไม่เกิน 10 วัน
- หลากหลายทางเลือกดอกเบี้ย
- สามารถขอกู้วงเงินเพิ่มเติมได้
- ฟรีค่าประเมินราคาหลักทรัพย์
- จ่ายน้อย ผ่อนจ่ายสบายได้นาน
วงเงินกู้ในการอนุมัติสินเชื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารกรุงเทพ : โดยจะให้เท่ากับยอดหนี้เดิม ซึ่งจะต้องไม่เกิน 100% ของราคาประเมินหลักประกัน และยังสามารถขอกู้เงินเพิ่มเติมได้อีก
ระยะเวลาในการผ่อนจ่าย : สามารถผ่อนจ่ายได้นาน 30 ปี
การคำนวณอัตราดอกเบี้ยนั้น ธนาคารจะแยกออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ หลักทรัพย์เป็นที่อยู่อาศัยในกลุ่มโครงการที่มีข้อตกลงธนาคาร และ กรณีที่หลักทรัพย์เป็นที่อยู่อาศัยทั่วไป นอกจากนี้แล้วยังมีอีกหนึ่งปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอัตราดอกเบี้ยนั่นก็คือ การเลือกทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ เพราะถ้าเลือกทำประกันชีวิต แน่นอนว่าความเสี่ยงหนี้ของธนาคารก็ลดน้อยลง เรามาดูกันดีกว่าว่าดอกเบี้ยในแต่ละประเภทมีอัตราเท่าไรกันบ้าง
กรณีที่หลักทรัพย์เป็นที่อยู่อาศัยในกลุ่มโครงการที่มีข้อตกลงธนาคาร ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ กรณีที่ทำประกันชีวิต กับ กรณีที่ไม่ทำประกันชีวิต รายละเอียดดังนี้
กรณีที่ทำประกันชีวิต จะมีให้เลือกด้วยกัน 3 ทางเลือก ดังนี้ (ปัจจุบันดอกเบี้ย MRR = 7.125% ต่อปี)
- สำหรับทางเลือกที่ 1
- เดือนที่ 1 – 6 ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 0.74% ต่อปี
- เดือนที่ 7 – 12 ดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR – 4.00% ต่อปี หรือเท่ากับ 3.125% ต่อปี
- ปีที่ 2 ดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR – 3.75% ต่อปี หรือเท่ากับ 3.375% ต่อปี
- ปีที่ 3 ดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR – 2.50% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.625% ต่อปี
- ปีที่ 4 – 5 ดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR – 2.625% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.5% ต่อปี
- ตั้งแต่ปีที่ 6 ขึ้นไป ดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR – 2.75% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.375% ต่อปี
- สำหรับทางเลือกที่ 1 หากคิดดูแล้วจะเฉลี่ยดอกเบี้ย 3 ปี อยู่ที่ 3.31% – 3.39% ต่อปี และดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดสัญญาจะอยู่ที่ 3.75% – 3.80% ต่อปี
- สำหรับทางเลือกที่ 2
- สินเชื่อปีที่ 1 ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 5.25% ต่อปี หรือเท่ากับ 1.875% ต่อปี
- สินเชื่อปีที่ 2 ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 5.00% ต่อปี หรือเท่ากับ 2.125% ต่อปี
- สินเชื่อปีที่ 3 ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 2.375% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.75% ต่อปี
- สินเชื่อปีที่ 4 จนถึงปีที่ 5 ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 2.625% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.5% ต่อปี
- สินเชื่อตั้งแต่ปีที่ 6 จนถึงปีสุดท้าย ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 2.75% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.375% ต่อปี
- สำหรับทางเลือกที่ 2 หากคิดดูแล้วจะเฉลี่ยดอกเบี้ย 3 ปี อยู่ที่ 2.92% – 3.00% ต่อปี และดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดสัญญาจะอยู่ที่ 3.51% – 3.57% ต่อปี
- สำหรับทางเลือกที่ 3 ฟรีค่าจดจำนอง
- ปีแรกธนาคารจะคิดดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR – 4.625% ต่อปี หรือเท่ากับ 2.5% ต่อปี
- ปีที่ 2 ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR – 4.375% ต่อปี หรือเท่ากับ 2.75% ต่อปี
- ปีที่ 3 ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR – 2.50% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.625% ต่อปี
- ปีที่ 4 – 5 ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR – 2.625% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.5% ต่อปี
- ปีที่ 6 เป็นต้นไปนั้น ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR – 2.75% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.375% ต่อปี
- สำหรับทางเลือกที่ 3 หากคิดดูแล้วจะเฉลี่ยดอกเบี้ย 3 ปี อยู่ที่ 3.29% – 3.38% ต่อปี และดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดสัญญาจะอยู่ที่ 3.75% – 3.81% ต่อปี
กรณีที่ไม่ทำประกันชีวิต จะมีให้เลือกด้วยกัน 3 ทางเลือก ดังนี้ (ปัจจุบันดอกเบี้ย MRR = 7.125% ต่อปี)
- สำหรับทางเลือกที่ 1
- 6 เดือนแรกของสัญญาปีที่ 1 ดอกเบี้ยจะคงที่ซึ่งอยู่ที่ 0.99% ต่อปี
- เดือนที่ 7 จนถึงเดือนที่ 12 ดอกเบี้ยจะลอยตัวซึ่งจะอยู่ที่ MRR – 3.75% ต่อปี หรือเท่ากับ 3.375% ต่อปี
- ดอกเบี้ยปีที่ 2 จะอยู่ที่ MRR – 3.75% ต่อปี หรือเท่ากับ 3.375% ต่อปี
- ดอกเบี้ยปีที่ 3 จะอยู่ที่ MRR – 2.50% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.625% ต่อปี
- ดอกเบี้ยในปีที่ 4 – 5 นั้น จะอยู่ที่ MRR – 2.625% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.5% ต่อปี
- ดอกเบี้ยตั้งแต่ปีที่ 6 จะอยู่ที่ MRR – 2.75% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.375% ต่อปี
- สำหรับทางเลือกที่ 2
- ดอกเบี้ยในปีแรก ธนาคารจะคิดอยู่ที่ MRR – 5.25% ต่อปี หรือเท่ากับ 1.875% ต่อปี
- ดอกเบี้ยในปีที่ 2 ธนาคารจะคิดอยู่ที่ MRR – 5.00% ต่อปี หรือเท่ากับ 2.125% ต่อปี
- ดอกเบี้ยในปีที่ 3 ธนาคารจะคิดอยู่ที่ MRR – 2.375% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.75% ต่อปี
- ดอกเบี้ยในปีที่ 4 -5 ธนาคารจะคิดอยู่ที่ MRR – 2.625% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.5% ต่อปี
- ดอกเบี้ยในปีที่ 6 ขึ้นไป ธนาคารจะคิดอยู่ที่ MRR – 2.75% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.375% ต่อปี
- สำหรับทางเลือกที่ 3 ฟรีค่าจดจำนอง
- ปีที่ 1 ดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านจะอยู่ที่ MRR – 4.625% ต่อปี หรือเท่ากับ 2.5% ต่อปี
- ปีที่ 2 ดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านจะอยู่ที่ MRR – 4.375% ต่อปี หรือเท่ากับ 2.75% ต่อปี
- ปีที่ 3 ดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านจะอยู่ที่ MRR – 2.50% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.625% ต่อปี
- ปีที่ 4 – 5 ดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านจะอยู่ MRR – 2.625% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.5% ต่อปี
- ปีที่ 6 จนถึงปีที่สุดท้าย ดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านจะอยู่ MRR – 2.75% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.375% ต่อปี
Credit : https://pixabay.com
สำหรับกรณีที่หลักทรัพย์เป็นที่อยู่อาศัยทั่วไป
กรณีที่ทำประกันชีวิต จะมีให้เลือกด้วยกัน 3 ทางเลือก ดังนี้ (ปัจจุบันดอกเบี้ย MRR = 7.125% ต่อปี)
- สำหรับทางเลือกที่ 1
- เดือนที่ 1 – 6 ปีแรกของสัญญาสินเชื่อบ้าน ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 0.74% ต่อปี
- เดือนที่ 7 – 12 ปีแรกของสัญญาสินเชื่อบ้าน ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 3.50% ต่อปี หรือเท่ากับ 3.625% ต่อปี
- ปีที่ 2 ของสัญญาสินเชื่อบ้าน ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 3.25% ต่อปี หรือเท่ากับ 3.875% ต่อปี
- ปีที่ 3 ของสัญญาสินเชื่อบ้าน ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 1.50% ต่อปี หรือเท่ากับ 5.625% ต่อปี
- ปีที่ 4 – 5 ของสัญญาสินเชื่อบ้าน ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 2.00% ต่อปี หรือเท่ากับ 5.125% ต่อปี
- ตั้งแต่ปีที่ 6 ขึ้นไป ของสัญญาสินเชื่อบ้าน ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยจะอยู่ที่MRR – 2.50% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.625% ต่อปี
- สำหรับทางเลือกที่ 2
- ในช่วงปีที่ 1 ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 5.25% ต่อปี หรือเท่ากับ 1.875% ต่อปี
- ในช่วงปีที่ 2 ดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR – 5.00% ต่อปี หรือเท่ากับ 2.125% ต่อปี
- ในช่วงปีที่ 3 ดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR – 1.50% ต่อปี หรือเท่ากับ 5.625% ต่อปี
- ในช่วงปีที่ 4 – 5 ดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR – 2.00% ต่อปี หรือเท่ากับ 5.125% ต่อปี
- ตั้งแต่ปีที่ 6 ขึ้นไปจนครบสัญญาเงินกู้ ดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR – 2.50% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.625% ต่อปี
- สำหรับทางเลือกที่ 3 ฟรีค่าจดจำนอง
- ดอกเบี้ยของสินเชื่อในปีที่ 1 ธนาคารคิดอยู่ที่ MRR – 3.65% ต่อปี หรือเท่ากับ 3.475% ต่อปี
- ดอกเบี้ยของสินเชื่อในปีที่ 2 – 3 ธนาคารคิดอยู่ที่ MRR – 3.40% ต่อปี หรือเท่ากับ 3.725% ต่อปี
- ดอกเบี้ยของสินเชื่อในปีที่ 4 – 5 ธนาคารคิดอยู่ที่ MRR – 2.00% ต่อปี หรือเท่ากับ 5.125% ต่อปี
- ดอกเบี้ยของสินเชื่อตั้งแต่ปีที่ 6 ขึ้นไป ธนาคารคิดอยู่ที่ MRR – 2.50% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.625% ต่อปี
กรณีที่ไม่ทำประกันชีวิต จะมีให้เลือกด้วยกัน 3 ทางเลือก ดังนี้ (ปัจจุบันดอกเบี้ย MRR = 7.125% ต่อปี)
- สำหรับทางเลือกที่ 1
- ในช่วง 6 เดือนแรกของปีที่ 1 ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยของสินเชื่ออยู่ที่ 0.99% ต่อปี
- ในช่วงเดือนที่ 7 – 12 ของปีที่ ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยของสินเชื่ออยู่ที่ MRR – 3.25% ต่อปี หรือเท่ากับ 3.875% ต่อปี
- ในช่วงปีที่ 2 ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยของสินเชื่ออยู่ที่ MRR – 3.25% ต่อปี หรือเท่ากับ 3.875% ต่อปี
- ในช่วงปีที่ 3 ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยของสินเชื่ออยู่ที่ MRR – 1.50% ต่อปี หรือเท่ากับ 5.625% ต่อปี
- ในช่วงปีที่ 4 – 5 ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยของสินเชื่ออยู่ที่ MRR – 2.00% ต่อปี หรือเท่ากับ 5.125% ต่อปี
- ตั้งแต่ปีที่ 6 ขึ้นไป ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยของสินเชื่ออยู่ที่ MRR – 2.50% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.625% ต่อปี
- สำหรับทางเลือกที่ 2
- 2 ปีแรก ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยลอยตัวซึ่งจะเท่ากับ MRR – 5.00% ต่อปี หรือเท่ากับ 2.125% ต่อปี
- ปีที่ 3 ธนาคารจะปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีกซึ่งจะเท่ากับ MRR – 1.50% ต่อปี หรือเท่ากับ 5.625% ต่อปี
- ปีที่ 4 – 5 ดอกเบี้ยจะลอยตัวอยู่ที่ MRR – 2.00% ต่อปี หรือเท่ากับ 5.125% ต่อปี
- ตั้งแต่ปีที่ 6 จนถึงปีสุดท้ายที่ครบสัญญา ดอกเบี้ยจะลอยตัวอยู่ที่ MRR – 2.50% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.625% ต่อปี
- สำหรับทางเลือกที่ 3 ฟรีค่าจดจำนอง
- ดอกเบี้ยสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน 3 ปีแรกนั้น ธนาคารจะคิดในอัตราเดียวกันอยู่ที่ MRR – 3.40% ต่อปี หรือเท่ากับ 3.725% ต่อปี
- ในส่วนของปีที่ 4 – 5 ของสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ธนาคารจะคิดในอัตราเดียวกันอยู่ที่ MRR – 2.00% ต่อปี หรือเท่ากับ 5.125% ต่อปี
- ตั้งแต่ปีที่ 6 ขึ้นไป ของสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ธนาคารจะคิดในอัตราเดียวกันอยู่ที่ MRR – 2.50% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.625% ต่อปี
เอกสารในการสมัครรีไฟแนนซ์บ้าน จาก 2 คนเป็นคนเดียว จากธนาคารกรุงเทพ
- เอกสารข้อมูลส่วนตัวของผู้สมัครในการรีไฟแนนซ์บ้าน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
- หากคุณมีคู่สมรสไม่ว่าจะอยู่ในฐานะสมรสหรือหย่าร้างกัน ก็จะต้องแนบสำเนาใบทะเบียนสมรสหรือใบหย่า
- หากคุณหรือคู่สมรสมีการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล จะต้องแนบเอกสารเปลี่ยนแปลงมาด้วย
- เอกสารที่มาของรายได้ของผู้สมัครในการรีไฟแนนซ์บ้าน
- หากคุณมีรายได้ประจำที่แน่นอน เช่น พนักงานประจำหรือข้าราชการ
- จะต้องใช้สลิปเงินเดือนเดือนล่าสุด หรือใช้หนังสือรับรองเงินเดือนซึ่งจะต้องไม่เกิน 3 เดือน โดยในหนังสือจะต้องระบุฐานเงินเดือนที่ได้รับ
- สำเนาบัญชีแสดงรายการความเคลื่อนไหวของบัญชีเงินฝากที่มีเงินเดือนเข้าให้ย้อนหลังไม่เกิน 3 เดือน
- กรณีที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว
- สำเนาหนังสือจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน ซึ่งจะต้องคัดมาไม่เกิน 3 เดือน เอกสารจะต้องให้ผู้มีอำนาจเซ็นและประทับตามบริษัท
- สำเนาใบกรมทะเบียนการค้าของบริษัท เอกสารจะต้องให้ผู้มีอำนาจเซ็นและประทับตามบริษัท
- สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ภพ. 20
- สำเนาบัญชีธนาคารที่แสดงกระแสการเงินของบริษัท
- งบการเงินปีล่าสุด หรือสำเนารายการแสดงภาษีเงินได้ประจำปี ปีล่าสุด
- เอกสารที่แสดงถึงหลักประกัน
- สำเนาสัญญากู้เงิน และข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนอง
- สำเนาใบเสร็จการผ่อนชำระหนี้ย้อนหลัง 3 เดือน
- สำเนาสัญญากู้เงิน
- หากคุณมีรายได้ประจำที่แน่นอน เช่น พนักงานประจำหรือข้าราชการ
ค่าใช้จ่ายต่างๆที่จะต้องเสียเมื่อสมัครรีไฟแนนซ์บ้าน จาก 2 คน เป็นคนเดียวจากธนาคารกรุงเทพ
- ค่าอากรแสตมป์
- ค่าธรรมเนียมการจดจำนอง 1% ของมูลจำนอง
- ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ 2% ของราคาประเมิน
- ค่าธรรมเนียมในการประเมินหลักประกัน 3,000 บาท ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
ช่องทางการสมัครสินเชื่อเพื่อรีไฟแนนซ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย : สนใจลองเข้าไปติดต่อสอบถามรายละเอียดได้กับเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา
Credit : https://pixabay.com
หากต้องการลดจำนวนผู้กู้ในการซื้อบ้านนั้น ก็อาจจะต้องยุ่งยากสักหน่อย เพราะที่คุณเลือกกู้ร่วมตั้งแต่แรกก็เพราะปัญหามาจากเรื่องของรายได้ไม่เพียงพอในการขอกู้สินเชื่อบ้าน และด่านแรกที่จะต้องเจอเลยก็คือ ธนาคารที่จะไปรีไฟแนนซ์บ้านนั้นก็จะต้องประเมินรายได้ของคุณเสียก่อนว่ามีความสามารถในการจ่ายหรือไม่ โดยปกติแล้วจะธนาคารจะดูยอดหนี้ที่มีอยู่นั้นจะต้องไม่เกิน 40-50% ของรายได้ในแต่ละเดือน และถ้าในส่วนรายได้นั้นผ่าน ขั้นตอนต่อไป ก็จะต้องไปติดต่อที่กรมที่ดิน เพื่อเปลี่ยนผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ให้เหลือเพียงคนเดียว โดยทำการซื้อขายระหว่างกัน ซึ่งอาจจะทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโอนประมาณ 2% ของราคาประเมิน และอาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆอีกนิดหน่อยด้วย ซึ่งแน่นอนว่าการรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อที่จะลดภาระเรื่องดอกเบี้ยนั้น แต่ก็ควรจะศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขหาข้อมูลอย่างน้อยๆสัก 3 ธนาคาร เพื่อที่จะได้นำมาเปรียบเทียบกันว่าธนาคารไหนให้วงเงินที่สูง ดอกเบี้ยถูก ตรงกับความต้องการของเราหรือไม่ และสามารถหาข้อมูลต่างๆในการรีไฟแนนซ์บ้านได้ที่เว็บไซต์ iMoney.in.th ได้เลย iMoney ได้รวบรวมข้อมูลรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารต่างๆที่หลายๆคนเลือกจะรีไฟแนนซ์ พร้อมกับมีโปรโมชั่น อัตราดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายต่างๆที่จะเกิดขึ้น ให้ได้ลองนำมาเปรียบเทียบเพื่อให้การรีไฟแนนซ์ครั้งนี้คุ้มค่าที่สุด สำหรับวันนี้ iMoney ขอลาไปก่อนและในครั้งหน้าเราจะมีบทความอะไรมาฝากนั้น อย่าลืมตามได้ทางเว็บไซต์ หรือทาง Facebook ที่จะมาคอยอัพเดททุกเรื่องที่เกี่ยวกับการเงิน