รวมข้อมูลเงินฝากประจําดอกเบี้ยสูง 2563 เปรียบเทียบดอกเบี้ยเงินฝากประจําทุกธนาคาร ฝากเงินธนาคารไหนดี พร้อมให้ผลตอบแทนคุ้มค่า ดูได้ที่ iMoney
เราเชื่อว่าเกือบจะทุกคนจะต้องมีอย่างน้อย 1 บัญชี และบัญชีที่มีนั้นก็เป็นบัญชีประเภทออมทรัพย์ ซึ่งอาจจะทำให้คุณฝาก ถอน โอนเงินได้อย่างสะดวก แต่รู้ไหมคะว่าการฝากออมทรัพย์นั้นคุณได้รับดอกเบี้ยเงินฝากที่ค่อนข้างต่ำ พอเราบอกไปแบบนี้ หลายคนก็คงจะตั้งคำถาม อ้าว??? แล้วถ้าต้องการฝากเงินที่ได้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงควรเลือกฝากแบบไหน และยังมีอีกหลายคำถามที่อยากรู้คำตอบที่เกี่ยวกับเงินฝาก วันนี้ iMoney เราจึงได้รวบรวมคำถามที่คุณอยากรู้ที่เกี่ยวกับเงินฝากมาให้พร้อมกับคำตอบค่ะ เพื่อที่จะช่วยทำให้คุณมีความเข้าใจ เลือกการออมเงินได้อย่างถูกต้อง และตรงตามวัตถุประสงค์มากที่สุดค่ะ
รายละเอียดเงินฝากทุกธนาคาร 2563
เรื่องน่ารู้เงินฝาก (Deposit)
สวัสดีค่ะทุกคน วันนี้ทีมงาน Imoney ขอพาทุกคนไปท่องโลกของเงินฝากกันค่ะ นานาสาระมากมายเกี่ยวกับเงินฝาก ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชีเงินฝากแต่ละประเภท เงินฝากมีกี่ประเภท รายละเอียดของแต่ละประเภท การเลือกเปิดบัญชีเงินฝากให้เหมาะสมตามแต่ละบุคคล ดอกเบี้ยเงินฝากคืออะไร วิธีคิดดอกเบี้ยเงินฝาก เงินฝากดอกเบี้ยสูง หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์ที่คล้ายเงินฝาก ซึ่งมักเป็นคำถามที่มักคาใจหลายๆคนอยู่เป็นแน่ วันนี้ทีมงาน imoney จะพาทุกคนไปไขข้อสงสัยเหล่านี้กันค่ะ ตามเราไปดูกันเลยจ้า ^_^
- บัญชีเงินฝากคืออะไร? เปิดอย่างไร? แล้วมีกี่ประเภท?
- การเปิดบัญชีเงินฝาก
- เปิดบัญชีเงินฝากส่วนบุคคล
- เปิดบัญชีเงินฝากร่วม
- เปิดบัญชีเงินฝากสมาคมหรือมูลนิธิ
- เปิดบัญชีเงินฝากของวัด หรือสำนักปฏิบัติธรรมที่มีใบอนุญาตจัดตั้ง
- เปิดบัญชีเงินฝากของบริษัท จำกัด หรือบริษัท(มหาชน) จำกัด
- เปิดบัญชีเงินฝากของห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
- เงินฝากมีกี่ประเภท
- บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ (Savings Account)
- บัญชีเงินฝากประจำ (Fixed Deposit Account)
- บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน (Current Account)
- บัญชีเงินฝากประจำรายเดือนแบบปลอดภาษี
- บัญชีเงินฝากแบบขั้นบันได (Step-up Account)
- บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ
- รายละเอียดของแต่ละประเภท
- การเลือกเปิดบัญชีเงินฝากให้เหมาะสม
- การเปิดบัญชีเงินฝาก
- อยากฝากเงิน…ต้องรู้อะไรบ้าง?
- ดอกเบี้ยเงินฝาก
- ดอกเบี้ยเงินฝากคืออะไร
- วิธีคิดดอกเบี้ยเงินฝาก
- เงินฝากดอกเบี้ยสูง
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ค่าธรรมเนียมและเบี้ยปรับ
- เงื่อนไขการคุ้มครองเงินฝาก
- การแจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่
- โทษตามกฎหมายสำหรับการรับจ้างเปิดบัญชี
- สิทธิในการเลือกที่จะทำบัตรเอทีเอ็ม/บัตรเดบิต หรือปฏิเสธเมื่อไม่ต้องการใช้
- สิทธิในการหักเงินในบัญชีเงินฝากเพื่อชำระหนี้
- ดอกเบี้ยเงินฝาก
มารู้จักเกี่ยวกับบัญชีเงินฝาก (Deposit) กันเถอะ
บัญชีเงินฝาก เกิดจากผู้ฝากเงินนำเงินฝากกับธนาคาร โดยมีหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทของบัญชีเงินฝากนั้นก็แตกต่างจุดประสงค์กันไป ให้ดอกเบี้ยและผลตอบแทนที่แตกต่างกัน ตามไปดูกันเลยค่ะทุกคน ว่าแต่ละประเภทที่ว่ามีอะไรบ้าง แตกต่างกันอย่างไร
การเปิดบัญชีเงินฝากต้องดูอย่างไรบ้าง?
ก่อนจะเลือกว่าเปิดบัญชีธนาคารไหนดี ควรรู้ก่อนว่าต้องการเปิดบัญชีเพื่อจุดประสงค์อะไร ไว้ใช้ทำอะไร เนื่องจากการเปิดบัญชีเพื่อจุดประสงค์ที่ต่างกัน ย่อมมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไปนั่นเอง ตาม iMoney ไปดูกันได้เลยค่ะ
ในกรณีต้องการเปิดบัญชีเงินฝากส่วนบุคคล
การเปิดบัญชีเงินฝากส่วนบุคคลนั้น สามารถทำได้ง่ายๆมาเลยค่ะทุกท่าน เพียงท่านนำบัตรประชาชนใบเดียวเท่านั้นตรงดิ่งเข้าไปติดต่อที่ธนาคารที่ท่านสนใจ แล้วดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆของธนาคารเป็นอันเสร็จสิ้นค่ะ
ในกรณีต้องการเปิดบัญชีเงินฝากร่วม
หากท่านใดสนใจที่จะเปิดบัญชีร่วมระหว่างบุคคลนั้น ไม่ได้ยากไปกว่าการเปิดบัญชีเงินฝากส่วนบุคคลเลยค่ะทุกท่าน ใช้เพียงแค่บัตรประชาชนของผู้ร่วมเปิดบัญชีทั้งคู่ค่ะ โดยการฝากถอนในบัญชีที่เปิดร่วมกันนั้น จะเป็นไปตามเงื่อนไขที่ท่านระบุตอนเปิดบัญชีค่ะ ว่าจะต้องใช้ลายเซ็นต์เพียงผู้เดียวหรือสองคน ตามแต่ท่านระบุแรกเปิดค่ะ
ในกรณีต้องการเปิดบัญชีเงินฝากสมาคมหรือมูลนิธิ
หากสมาคมหรือมูลนิธิใดต้องการที่จะเปิดบัญชีเงินฝากอยู่แล้วหล่ะก็ เอกสารหรือสิ่งต่างๆที่ท่านต้องเตรียมไว้เพื่อใช้ในการเปิดบัญชีนั้น มีด้วยกันดังนี้ค่ะ
- หนังสือรับรองจดทะเบียน หรือหนังสือจัดตั้งองค์กร หรือหนังสือรับรององค์กร หรือใบอนุญาตการจัดตั้งองค์กรจากส่วนราชการหรือหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องออกให้
- ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ขององค์กร สมาคมหรือมูลนิธิค่ะ
- รายชื่อของคณะกรรมการบริหารทั้งหมดชุดปัจจุบัน ณ วันที่ทำการเปิดบัญชีค่ะ
- รายงานการประชุมของคณะกรรมการ หรือหนังสือที่แจ้งความประสงค์ขอเปิดบัญชี ซึ่งมีข้อความกำหนด โดยมีผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่ายและมีเงื่อนไขการสั่งจ่าย โดยผู้มีอำนาจลงนามแทน ลงนามพร้อมประทับตราในเอกสาร(หากมีค่ะ)
- เอกสารแสดงตน คือ บัตรประชาชนพร้อมเซนต์สำเนา ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ ผู้ที่ลงนามเปิดบัญชี และผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่าย ผู้มีอำนาจลงนามแทนสมาคมหรือมูลนิธิ ในทุกๆราย
- หนังสือแต่งตั้ง หรือมอบอำนาจในการทำธุรกรรม (ถ้ามีค่ะ)
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
ในกรณีต้องการเปิดบัญชีเงินฝากของวัด หรือสำนักปฏิบัติธรรมที่มีใบอนุญาตจัดตั้ง
ในกรณีวัด หรือสำนักปฏิบัติธรรม ต้องการจะเปิดบัญชีเงินฝาก เอกสารต่างๆที่ท่านต้องเตรียม มีด้วยกัน ดังนี้ค่ะ
- เอกสารรับรองหรือแสดงตนของวัดหรือสำนักปฏิบัติธรรม อาทิ หนังสือแต่งตั้งเจ้าอาวาส หนังสือจดทะเบียน หรือหนังสือจัดตั้ง หรือหนังสือรับรอง หรือใบอนุญาตจัดตั้งจากส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ออกให้
- หนังสือแจ้งความประสงค์เพื่อขอเปิดบัญชี โดยมีข้อความกำหนดผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่ายและเงื่อนไขการสั่งจ่าย โดยผู้มีอำนาจลงนามแทน ลงนามพร้อมประทับตรา(หากมีค่ะ)
- เอกสารแสดงตน นั่นคือ บัตรประชาชนพร้อมลงนามสำเนาของผู้ที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ ผู้ที่ลงนามเพื่อเปิดบัญชี และผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่าย และผู้มีอำนาจลงนามแทนทุกรายค่ะ
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (ถ้ามีค่ะ)
ในกรณีต้องการเปิดบัญชีเงินฝากของบริษัท จำกัด หรือบริษัท(มหาชน) จำกัด
หากท่านเจ้าของบริษัท จำกัด หรือบริษัท(มหาชน) จำกัด ท่านใด ต้องการเปิดบัญชีเงินฝากแล้วหล่ะก็ มาดูกันดีกว่าค่ะว่าท่านต้องเตรียมสิ่งใดกันบ้างเพื่อใช้ในการเปิดบัญชี
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง พร้อมลงนามรับรองสำเนา ของกรรมการทุกรายผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทตามที่ระบุในหนังสือรับรอง และผู้มีอำนาจลงนามเบิกถอนค่ะ
- รายงานการประชุม หรือหนังสือแสดงความประสงค์ขอเปิดบัญชี ซึ่งได้ระบุประเภทบัญชีและชื่อของธนาคาร พร้อมกำหนดผู้มีอำนาจลงนามเบิกถอนและเงื่อนไขการเบิกถอนให้ชัดเจนค่ะ
- หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทรับรองถึงรายนามกรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันของบริษัท ซึ่งออกให้ไม่เกิน 3 เดือนค่ะ
- หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ. 2)
- บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ. 5)
- รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (บอจ. 3) พร้อมสำเนาข้อบังคับ ในกรณีที่ บอจ. 3 ระบุว่า “มีข้อบังคับ”
- รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม หรือมติพิเศษ (บอจ. 4) (ถ้ามีค่ะ)
- หนังสือมอบอำนาจที่ลงนามผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามีค่ะ)
*** โดยเอกสารทั้ง 8 ส่วนข้างต้นที่กล่าวมา ต้องมีการลงนามรับรองสำเนา และประทับตาที่เอกสารทุกหน้าด้วยค่ะ
ในกรณีต้องการเปิดบัญชีเงินฝากของห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลใดๆ ต้องการเปิดบัญชีเงินฝาก เอกสารที่ท่านจำเป็นต้องเตรียม และขาดไม่ได้นั้น มีอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลยค่ะ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง พร้อมลงนามรับรองสำเนา ของกรรมการทุกรายผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทตามที่ระบุในหนังสือรับรอง และผู้มีอำนาจลงนามเบิกถอนค่ะ
- รายงานการประชุม หรือหนังสือแสดงความประสงค์ขอเปิดบัญชี ซึ่งได้ระบุประเภทบัญชีและชื่อของธนาคาร พร้อมกำหนดผู้มีอำนาจลงนามเบิกถอนและเงื่อนไขการเบิกถอนให้ชัดเจนค่ะ
- หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทรับรองถึงรายนามหุ้นส่วน หุ้นส่วนผู้จัดการและอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งออกให้ไม่เกิน 3 เดือนค่ะ
- หนังสือมอบอำนาจที่ลงนามผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ(ถ้ามีค่ะ)
*** โดยเอกสารทั้ง 4 ส่วนข้างต้นที่กล่าวมา ต้องมีการลงนามรับรองสำเนา และประทับตาที่เอกสารทุกหน้าด้วยค่ะ
เงินฝากมีกี่ประเภท
ประเภทของบัญชีเงินฝากจะมีอยู่ 3 ประเภทหลัก ได้แก่ ประเภทเงินฝากออมทรัพย์ ประเภทเงินฝากประจำ และประเภทเงินฝากกระแสรายวัน
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ (Savings Account) หมายถึง?
บัญชีเงินฝากชนิดนี้เป็นบัญชีเงินฝากที่ไม่จำกัดจำนวนครั้งในการฝากถอน ไม่กำหนดระยะเวลาในการฝากถอน มักใช้ร่วมกับบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิต และสามารถใช้หักบัญชีอัตโนมัติต่างๆ เพื่อชำระค่าใช้จ่าย บัญชีประเภทนี้นั้นมักจะกำหนดขั้นต่ำของจำนวนเงินฝากที่ไม่สูง อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าบัญชีประเภทอื่น และจะคิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน จึงทำให้บัญชีเงินฝากประเภทนี้เหมาะกับการออมในระยะเวลาเพียงสั้นๆ เหมาะสำหรับเป็นบัญชีเพื่อรับโอนเงินและชำระค่าใช้จ่ายต่างๆประจำเดือนค่ะ สำหรับบัญชีเงินฝากชนิดนี้ หากใครสนใจ iMoney มีคำแนะนำดังนี้ค่ะ
- ควรหมั่นปรับสมุดบัญชีและตรวจสอบความถูกต้องของรายการธุรกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในบัญชีอย่างสม่ำเสมอค่ะ หากพบรายการที่ไม่ถูกต้องจะได้รีบติดต่อธนาคารเพื่อตรวจสอบและแก้ไขได้ทันท่วงทีนั่นเองค่ะ
- ต่อมาควรศึกษาเงื่อนไขของประเภทบัญชีให้ละเอียดก่อนเลือกใช้บริการ เนื่องจากบัญชีเงินออมทรัพย์แต่ละประเภทอาจมีเงื่อนไขที่มีความแตกต่างกันอยู่บ้างค่ะ
- สุดท้ายควรเลือกเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เพียงจำนวนเงินที่จำเป็นต้องใช้ เนื่องจากหากมีหลายบัญชีเกินความจำเป็นและไม่มีการบริหารจัดการที่ดีพอ บัญชีไม่มีการเคลื่อนไหว มียอดเงินคงเหลือในบัญชีต่ำกว่าเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด อาจถูกเรียกเก็บค่ารักษาบัญชีได้ค่ะ
โดยในแต่ละธนาคารก็มีรายละเอียดต่างๆแตกต่างกันไป ถ้าอยากทราบว่าจะเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารไหนดี ที่ไหนเหมาะกับเรา ดอกเบี้ยเงินฝากแต่ละที่เป็นอย่างไร แตกต่างกันเท่าไหร่ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ
ตารางเปรียบเทียบดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์จะได้รู้ว่าฝากเงินธนาคารไหนดี
ธนาคาร | ชื่อเงินฝาก | จุดเด่น | เงื่อนไข | ดอกเบี้ย |
ธนาคารกสิกรไทย | เงินฝากออมทรัพย์ และบัญชีเงินฝากออมทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์ | ฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงิน ไม่จำกัดจำนวนครั้ง | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 500 บาท | 0.37 – 0.50 |
ธนาคารไทยพาณิชย์ | เงินฝากออมทรัพย์ | ฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงิน ไม่จำกัดจำนวนครั้ง | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 500 บาท | 0.375 – 0.50 |
ธนาคารไทยพาณิชย์ | เงินฝากออมทรัพย์ อีซี่ (EZ Savings Account) | เบิกถอนเงินโดยไม่ต้องใช้บัตร ATM และได้ดอกเบี้ยในอัตราที่สูง | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 500 บาท | 1.2 |
ธนาคารไทยพาณิชย์ | บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ สมาร์ทคิดส์ | ไม่มีค่าธรรมเนียมหากบัญชีไม่มีการเคลื่อนไหว | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 2,000 บาท และฝากครั้งต่อไปขั้นต่ำ 10 บาท | 0.5 |
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา | กรุงศรีออมทรัพย์จัดให้ | ฟรี กดเงินทุกตู้ ทุกธนาคารทั่วไทย ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และจ่ายบิล 5 บิลต่อเดือนทุกช่องทาง | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 500 บาท และไม่จำกัดจำนวนเงินในการฝากครั้งถัดไป | 0.1 |
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา | เงินฝากออมทรัพย์มีแต่ได้ | ได้รับดอกเบี้ยเป็นรายเดือน และไม่จำกัดเงินคงเหลือในบัญชี | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 500 บาท | 0.60 – 1.30 |
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา | บัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษ | ได้รับดอกเบี้ยเป็นรายเดือน และไม่จำกัดเงินคงเหลือในบัญชี | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 30,000 บาท และถอนเงิน หรือโอนเงิน ได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อเดือน | 0.10 – 2.00 |
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา | บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป | ทำธุรกรรมการทางเงินได้ไม่จำกัดจำนวนเงินและจำนวนครั้ง | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 500 บาท | 0.10 – 0.80 |
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา | บัญชีออมทรัพย์กรุงศรี ทีนพลัส | ได้รับโบนัสพิเศษเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 ของดอกเบี้ย | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 500 บาท | 0.3 |
ธนาคารธนชาต | อัลตร้าเซฟวิ่ง | ฝากเงินแบบออมทรัพย์ แต่รับดอกเบี้ยสูงเหมือนเงินฝากประจำ | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 500 บาท และถอนเงินได้เดือนละ 2 ครั้ง | 0.80 – 1.5 |
ธนาคารธนชาต | บัญชีฟรีเว่อร์ไลท์ | ฟรีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นธนาคารธนชาต หรือธนาคารอื่นๆ | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 100 บาท และต้องสมัครบัตรเดบิต | 0.125 |
ธนาคารธนชาต | บัญชี e-SAVINGS | ฝากเงินแบบออมทรัพย์ แต่รับดอกเบี้ยสูงตั้งแต่บาทแรก และถอนเงินออก ก็ยังได้รับดอกเบี้ยเต็มๆ | ไม่มีขั้นต่ำในการเปิดบัญชี และหากมีเงินเหลือในบัญชีต่ำกว่า 1,000 บาท จะไม่สามารถถอนเงินได้ | 1.50 – 1.80 |
ธนาคารธนชาต | ออมทรัพย์มีระดับ | ยิ่งออมมาก ยิ่งได้รับดอกเบี้ยมากขึ้นตามระดับจำนวนเงิน และฝากเงิน ถอนเงิน ไม่จำกัดจำนวนเงิน ไม่จำนวนครั้งต่อวันเลย | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 500 บาท | 0.20 – 0.40 |
ธนาคารกรุงไทย | เงินฝากออมทรัพย์ | บัญชีออมเงินแบบระยะสั้น ทำให้การใช้จ่ายเงินของคุณมีความคล่องตัว | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 500 บาท | 0.375 – 0.50 |
ธนาคารกรุงไทย | เงินฝากออมทรัพย์พิเศษสำหรับผู้เยาว์ ( KTB Kids Savings) | รับดอกเบี้ยทุกเดือน และได้รับโบนัสเพิ่มในอัตรา 100 % ของดอกเบี้ยที่ได้รับ | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 2,000 บาท | 0.5 |
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ | คล่องตัวในการฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงิน | เปิดบัญชีขั้นต่ำอยู่ที่ 500 บาท | 0.25 – 0.90 |
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | เงินฝาก ธอส. รักการออม | ไม่มีกำหนดระยะเวลาในการฝาก และถอนเงินได้เพียงแค่เดือนละ 1 ครั้ง | เปิดบัญชีขั้นต่ำอยู่ที่ 50 บาท | 1 |
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | เงินฝากออมทรัพย์ GH BANK Pay-Roll | รับดอกเบี้ยเป็นรายเดือน ฟรี บัตร ATM /ค่าธรรมเนียมบัตรปีแรก | เปิดบัญชีไม่มีขั้นต่ำ | 1.5 |
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | เงินฝากออมทรัพย์ Happy Home สำหรับลูกค้าสินเชื่อของธนาคาร | ดอกเบี้ยอัตราสูง และฟรี บัตร ATM /ค่าธรรมเนียมบัตรปีแรก | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 500 บาท | 0.75 – 1.75 |
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | เงินฝากออมทรัพย์ NEW GEN | รับดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 500 บาท | 1.00 – 1.55 |
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | เงินฝากออมทรัพย์ Flexi | รับดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาท | 0.90 – 1.75 |
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | โครงการ Happy Pay by PromptPay | สะดวก สบายในการจ่ายค่างวดบ้านกับ ธอส. และรับดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 500 บาท | 0.90 – 1.75 |
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | เงินฝาก Campus Savings | พิเศษโบนัสดอกเบี้ยเพิ่มร้อยละ 0.25 ต่อปี และรับดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 500 บาท | 0.75 – 1.15 |
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | บัญชีเงินฝากออมทรัพย์เจ้าสัว | รับดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 10,000 บาท | 1.50 – 1.80 |
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร | เงินฝากออมทรัพย์ | ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 50 บาท | 0.40 – 0.50 |
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร | เงินฝากออมทรัพย์ทวีโชค | ยิ่งฝากเงินมาก ก็ยิ่งมีสิทธิ์ชิงรางวัลมาก และใช้เป็นหลักประกันเงินกู้กับธนาคาร | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 50 บาท | 0.7 |
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร | เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ | ได้รับดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ธรรมดา และปลอดภาษีดอกเบี้ย | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 10,000 บาท | 0.80 – 1.10 |
ธนาคารTMB | บัญชีออมทรัพย์ | ฟรีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างบัญชีของ TMB ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และไม่จำกัดจำนวนเงิน | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 500 บาท | 0.125 |
ธนาคารTMB | ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี | ฟรีค่าธรรมเนียม ในการโอนต่างแบงก์ หรือโอนข้ามจังหวัด กดเงินทุกตู้ ทุกแบงก์ ทุกจังหวัดจ่ายบิล เติมเงิน | ไม่กำหนดเงินขั้นต่ำในการเปิดบัญชี | ไม่มี |
ธนาคารออมสิน | เงินฝากเผื่อเรียก | มีความคล่องตัวในการจ่ายใช้เงิน ฝากเงิน ถอนเงิน เท่าไรก็ได้ ไม่จำกัดจำนวนเงิน และไม่จำนวนครั้ง และไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเงินฝาก | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1 บาท | 0.37 – 0.50 |
ธนาคารออมสิน | เงินฝากออมเงิน ออมธรรม | มีความคล่องตัวในการจ่ายใช้เงิน ฝากเงิน ถอนเงิน เท่าไรก็ได้ ไม่จำกัดจำนวนเงิน และไม่จำนวนครั้ง และไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเงินฝาก | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 100 บาท | 1 |
ธนาคารออมสิน | เงินฝาก Youth Savings | มีความคล่องตัวในการจ่ายใช้เงิน ฝากเงิน ถอนเงิน เท่าไรก็ได้ ไม่จำกัดจำนวนเงิน และไม่จำนวนครั้ง และไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเงินฝาก | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 100 บาท | 1.25 |
ตารางเปรียบเทียบดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารต่างๆ ประเภทออมทรัพย์พิเศษ ฝากเงินธนาคารไหนดี มาดูกัน
ธนาคาร | ชื่อเงินฝาก | จุดเด่น | เงื่อนไข | ดอกเบี้ย |
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | เงินฝากออมทรัพย์ซุปเปอร์ออมทรัพย์พิเศษ | ฟรีค่าธรรมเนียมการโอนเงิน และถอนเงินได้เดือนละ 1 ครั้ง | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 10,000 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท | 1.5 |
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | บัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษ | ไม่จำกัดจำนวนเงินในการถอนเงิน และถอนเงินได้เดือนละ 2 ครั้ง | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท | 0.375 – 1.00 |
ธนาคารออมสิน | เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ | ดอกเบี้ยสูง ถอนเงินได้เดือนละ 1 ครั้ง และไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเงินฝาก | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาท | 0.65 – 0.90 |
ธนาคารออมสิน | เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ 11 เดือน | ถอนเงินเท่าไรก็ได้ไม่จำกัด และไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ย | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 10,000 บาท | 1.25 |
บัญชีเงินฝากประจำ (Fixed Deposit Account) หมายถึง?
มาถึงบัญชีเงินฝากประเภทบัญชีเงินฝากประจำค่ะ ซึ่งบัญชีเงินฝากชนิดนี้เป็นบัญชีที่ได้รับดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ค่ะ เป็นบัญชีที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินหัก ณ ที่จ่ายเงินได้บุคคลธรรมดาจากดอกเบี้ยรับค่ะ เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่มีเงินเหลือจากการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ที่ต้องการเก็บสะสม โดยมีเงื่อนไขสำคัญอยู่คือจะมีการกำหนดระยะเวลาการฝากประจำอยู่ที่ 3 เดือน, 6 เดือน, 12 เดือน, 24 เดือน และ 36 เดือน หรือมากกว่านั้นค่ะ และเมื่อฝากแล้วไม่ควรถอนก่อนกำหนดเนื่องจากจะทำให้ไม่ได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ค่ะ บัญชีเงินฝากประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีเงินนอน หรือเงินเย็น หรือต้องการออมเงินระยะยาว ที่ได้รับดอกเบี้ยสูงกว่ากว่าเงินฝากแบบออมทรัพย์ค่ะ โดยสิ่งที่เราอยากฝากทุกคนให้ทราบเกี่ยวกับเงินฝากชนิดนี้คือ
- หากท่านมีการถอนเงินฝากก่อนครบกำหนด ก็อาจทำให้ได้รับดอกเบี้ยน้อยกว่าที่ธนาคารบอกไว้ค่ะ
- โดยมีวิธีการนับวันครบกำหนดระยะเวลาของการฝากประจำ ได้ง่ายๆดังนี้ค่ะ ยกตัวอย่างในกรณีฝากประจำ 3 เดือน หากเริ่มในวันที่ 1 มกราคม จะครบกำหนดในวันที่ 1 เมษายน นั่นเองค่ะทุกคน
- บางธนาคารอาจมีข้อกำหนดให้ผู้ที่ฝากเงินในบัญชีฝากประจำ เปิดบัญชีฝากออมทรัพย์ควบคู่กันไปด้วยค่ะ เพื่อที่ธนาคารจะได้โอนดอกเบี้ยเข้าไปในบัญชีออมทรัพย์อัตโนมัติเมื่อมีการครบกำหนดการจ่ายดอกเบี้ย หรือมีการโอนเงินต้นเข้าไปด้วยเมื่อครบกำหนดระยะเวลาแล้วนั่นเองค่ะ
โดยในแต่ละธนาคารก็มีรายละเอียดต่างๆแตกต่างกันไป ฝากเงินธนาคารไหนดีที่สุด? อัตราดอกเบี้ยเงินฝากทุกธนาคารแต่ละธนาคารเป็นอย่างไร? สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ
ตารางเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจําทุกธนาคาร
ธนาคาร | ชื่อเงินฝาก | จุดเด่น | เงื่อนไข | ดอกเบี้ย |
ธนาคารTMB | ทีเอ็มบี โน ฟิกซ์ | เหมือนฝากประจำ แต่ยืดหยุ่นให้คุณสามารถถอนเงินได้เมื่อต้องการ และไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก | ไม่กำหนดเงินขั้นต่ำในการเปิดบัญชี | 0.125 – 1.30 |
ธนาคารTMB | ทีเอ็มบี ดรีม เซฟวิ่ง | รับดอกเบี้ยในอัตราที่สูง และต้องฝากเงินประจำทุกเดือน | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 500 หรือสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท | 2.00 – 2.50 |
ธนาคารTMB | ทีเอ็มบี อัพ แอนด์ อัพ | ถอนเงินเมื่อไรก็ยังได้รับดอกเบี้ย และรับดอกเบี้ยทุก 3 เดือน | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 25,000 บาท | 0.30 – 1.70 |
ธนาคารTMB | ทีเอ็มบี ฝากประจำทั่วไป | อิสระทางเลือกในการฝากเงินที่หลากหลาย และไม่ต้องฝากเงินทุกเดือน | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาท | 0.65 – 1.00 |
ธนาคารTMB | ทีเอ็มบี ดอกเบี้ยด่วน | รับดอกเบี้ยทั้งก่อนไปใช้ก่อน ใน 7 วันนับจากวันที่ฝากเงิน | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 10,000 บาท | สูงสุด 1.00 |
ธนาคารTMB | บัญชีเงินฝากประจำ ทีเอ็มบี เอ็กซ์คลูซีฟ | ระยะเวลาในการฝากสั้น แต่ได้ดอกเบี้ยที่คุ้มค่า | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 500,000 บาท | 0.65 – 1.25 |
ธนาคารกสิกรไทย | บัญชีเงินฝากประจำ | อิสระทางเลือกในการฝากเงินที่หลากหลาย และไม่ต้องฝากเงินทุกเดือน | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาท | 0.80 – 1.60 |
ธนาคารกสิกรไทย | บัญชีเงินฝากทวีทรัพย์ | ปลอดการเสียภาษีดอกเบี้ย | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 500 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท | 2.25 |
ธนาคารกสิกรไทย | บัญชีเงินฝากคล่องตัว ครอบครัวอุ่นใจ | ฝากประจำระยะสั้น สามารถเลือกรับดอกเบี้ยได้เอง ไม่ต้องฝากเงินทุกเดือน และฟรี ประกันอุบัติเหตุ | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 9,000 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 1,000,000 บาท | 1.25 |
ธนาคารกสิกรไทย | บัญชีเงินฝากประจำซูเปอร์ ซีเนียร์ | ได้รับดอกเบี้ยทุกเดือน | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 100,000 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 3,000,000 บาท | 1.6 |
ธนาคารไทยพาณิชย์ | เงินฝากประจำระยะสั้น | ฝากประจำระยะสั้น สามารถเลือกรับดอกเบี้ยได้เอง และไม่ต้องฝกาเงินทุกเดือน | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 5,000,000 บาท | 0.75 – 1.30 |
ธนาคารไทยพาณิชย์ | เงินฝากประจำทั่วไป | อิสระทางเลือกในการฝากเงินที่หลากหลาย และไม่ต้องฝากเงินทุกเดือน | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาท | 0.90 – 1.60 |
ธนาคารไทยพาณิชย์ | เงินฝากประจำเผื่อเหลือ เผื่อขาด เผื่อเรียก | ฝากประจำที่ถอนเงินเมื่อไรก็ได้ที่ต้องการ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และไม่จำนวนเงิน | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 100,000 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 50,000,000 บาท | 1.10 – 1.40 |
ธนาคารไทยพาณิชย์ | บัญชีเงินฝากประจำ สมาร์ทคิดส์ 24 เดือน | ได้รับดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าบัญชีเงินฝากประจำ 24 เดือน แบบทั่วไป | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาท | 1.7 |
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา | บัญชีฝากประจำทั่วไป | เลือกระยะเวลาการฝากเงินด้วยตัวเอง และใช้บัญชีเงินฝากเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาท | 0.90 – 1.70 |
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา | เงินฝากประจำกรุงศรีเซฟเวอร์พลัส | ได้รับโบนัสดอกเบี้ยเพิ่มอีกร้อยละ 0.50 ต่อปี และฝากเงินระยะสั้นได้ดอกเบี้ยสูงกว่าฝากประจำทั่วไป | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 500 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท | 1.65 |
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา | เงินฝากประจำออมเพื่อลูก | ไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ย | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท | 0.40 – 1.70 |
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา | เงินฝากประจำประเภท 5 เดือน และ 10 เดือน | ได้ดอกเบี้ยเงินฝากทุกเดือน | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 50,000 บาท และจะต้องฝากครั้งละไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท | 1.05 – 1.40 |
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา | เงินฝากประจำ Step up 9 เดือน | ดอกเบี้ยเงินฝากทุกเดือน และดอกเบี้ยแบบขั้นบันได | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 10,000 บาท และจะต้องฝากครั้งละไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท | 1.30 – 1.75 |
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา | บัญชีฝากประจำทั่วไป | เลือกระยะเวลาการฝากเงินด้วยตัวเอง และใช้บัญชีเงินฝากเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาท | 0.90 – 1.70 |
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา | เงินฝากประจำกรุงศรีเซฟเวอร์พลัส | ได้รับโบนัสดอกเบี้ยเพิ่มอีกร้อยละ 0.50 ต่อปี และฝากเงินระยะสั้นได้ดอกเบี้ยสูงกว่าฝากประจำทั่วไป | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 500 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท | 1.65 |
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา | เงินฝากประจำออมเพื่อลูก | ไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ย | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท | 0.40 – 1.70 |
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา | เงินฝากประจำประเภท 5 เดือน และ 10 เดือน | ได้ดอกเบี้ยเงินฝากทุกเดือน | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 50,000 บาท และจะต้องฝากครั้งละไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท | 1.05 – 1.40 |
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา | เงินฝากประจำ Step up 9 เดือน | ดอกเบี้ยเงินฝากทุกเดือน และดอกเบี้ยแบบขั้นบันได | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 10,000 บาท และจะต้องฝากครั้งละไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท | 1.30 – 1.75 |
ธนาคารธนชาต | เงินฝากประจำ | อิสระทางเลือกในการฝากเงินที่หลากหลาย และไม่ต้องฝากเงินทุกเดือน | กรณีที่มีสมุดคู่ฝาก เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาท และกรณีที่เป็นใบรับฝาก เปิดบัญชีเงินฝากขั้นต่ำ 10,000 บาท | 0.85 – 1.65 |
ธนาคารธนชาต | ฝากประจำตามแผน | อิสระทางเลือกในการฝากเงินที่หลากหลาย และไม่ต้องฝากเงินทุกเดือน | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 50,000 บาท | 0.40 – 1.35 |
ธนาคารธนชาต | ฝากประจำ 5 เดือน | ฝากประจำระยะสั้น สามารถเลือกรับดอกเบี้ยได้เอง และไม่ต้องฝกาเงินทุกเดือน | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 100,000 บาท และฝากครั้งต่อไปขั้นต่ำ 100,000 บาท | 1.20 – 1.35 |
ธนาคารธนชาต | ฝากประจำ 10 เดือน | เลือกรับดอกเบี้ยได้เอง และไม่ต้องฝกาเงินทุกเดือน | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 100,000 บาท และฝากครั้งต่อไปขั้นต่ำ 100,000 บาท | 1.35 – 1.45 |
ธนาคารกรุงไทย | เงินฝากประจำ | อิสระทางเลือกในการฝากเงินที่หลากหลาย และไม่ต้องฝากเงินทุกเดือน | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาท และขั้นต่ำ 10,000 บาท ขึ้นอยู่ระยะเวลาในการฝากเงิน | 0.85 – 1.60 |
ธนาคารกรุงไทย | เงินฝากประจำดอกเบี้ยสูง KTB ZERO TAX MAX | ปลอดภาษีจากดอกเบี้ยที่ และฝากเงินเท่ากันทุกเดือน ๆ ละ 1 ครั้ง | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท | 2.25 – 2.50 |
ธนาคารกรุงไทย | เงินฝากประจำตามใจ | อิสระทางเลือกในการฝากเงินที่หลากหลาย และไม่ต้องฝากเงินทุกเดือน | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 50,000 บาท | 0.55 – 1.35 |
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | บัญชีเงินฝากประจำ | สามารถเลือกระยะเวลาในการฝากได้เอง และไม่ต้องฝากเงินทุกเดือน | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 5,000 บาท หรือ เปิดบัญชีขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 10,000 บาท ขึ้นอยู่ระยะเวลาในฝาก | 0.25 – 2.00 |
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | บัญชีเงินฝากประจำสะสมทรัพย์ | ปลอดภาษีดอกเบี้ย และได้โบนัสพิเศษดอกเบี้ยเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อปี | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท | 2.5 |
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร | เงินฝากประจำ | อิสระทางเลือกในการฝากเงินที่หลากหลาย และไม่ต้องฝากเงินทุกเดือน | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาท | 0.90 – 1.50 |
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร | เงินออมสัจจะยั่งยืน | ได้รับเงินช่วยสวัสดิการ และเงินสนับสนุนกิจกรรม | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 50 บาท | 0.5 |
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร | เงินฝากออมทรัพย์ Senior Savings | ฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงิน ไม่จำกัดจำนวนครั้ง | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 100 บาท | 0.99 |
ธนาคารออมสิน | เงินฝากประจำรายเดือน 3 เดือน / 6 เดือน / 12 เดือน | ไม่ต้องฝากประจำทุกเดือน และถอนครั้งละเท่าใดก็ได้ | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาท | 0.85 – 2.00 |
ธนาคารออมสิน | การฝากประจำ 24 M Plus /การฝากประจำ 36 M Plus | รับดอกเบี้ยทุก 12 เดือน และใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาท | 1.20 – 2.00 |
บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน (Current Account) หมายถึง?
iMoney จะพาทุกท่านมารู้จักกับบัญชีเงินฝากประเภทนี้กันค่ะ บัญชีประเภทบัญชีเงินฝากกระแสรายวันถือเป็นบัญชีที่เป็นตัวช่วยในการบริหารจัดการเงินได้อย่างดีเยี่ยมค่ะ เหมาะสมกับการจัดการบริหารเงินของบริษัทหรือร้านค้า เนื่องจากสามารถเช็คการเบิกจ่ายเงินได้ สามารถขอใช้วงเงินเบิกเกินบัญชี หรือOverdraft หรือที่มักเรียกกันว่าเงิน O/D ได้ แต่ท่านต้องเสียดอกเบี้ยในส่วนของเงินที่เบิกเกินบัญชีตามระยะเวลาที่เบิกเกินบัญชีค่ะ จึงทำให้ช่วยเพิ่มสภาพคล่องของกรณีเงินขาดบัญชี ลดปัญหาเช็คเด้ง โดยบัญชีประเภทนี้จะไม่มีดอกเบี้ยเงินฝาก ไม่มีสมุดคู่ฝาก โดยยอดการเดินบัญชีต่างๆจะถูกจัดส่งทางไปรษณีย์หรือทางอิเล็กทรอนิกส์ค่ะ หากท่านใดสนใจในบัญชีเงินฝากประเภทนี้แล้วหล่ะก็ อย่ามองข้ามคำแนะนำดังต่อไปนี้ค่ะ
- หากต้องการเปิดบัญชีประเภทนี้ ควรศึกษาข้อกำหนดต่างๆอย่างระเอียดก่อนเปิดค่ะ ไม่ว่าจะเป็น จำนวนเงินฝากขั้นต่ำ เงื่อนไขการใช้วงเงินเบิกเกินบัญชี โดยที่บางธนาคารสามารถใช้ร่วมกับบัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็มได้ ถือเป็นข้อดีในการเพิ่มสภาพคล่องในการบริหารจัดการเงินที่ดียิ่งขึ้นค่ะ
- และอีกสิ่งที่ควรทราบก็คือ การที่จะใช้เช็คจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมค่ะ นั่นคือ ค่าซื้อเช็ค และมีความเสี่ยงต่อการสูญหาย อาทิ หากต้องการส่งเช็คทางไปรษณีย์ หากสูญหายเจ้าของบัญชีต้องแจ้งธนาคารอายัด และอีกส่วนคือ หากมีการสั่งจ่ายเช็คให้ลูกค้า ต้องมีการเก็บหลักฐานประกอบการสั่งจ่ายทุกครั้ง รวมทั้งต้นขั้ของเช็คด้วยค่ะ โดยต้องระบุรายละเอียดให้ชัดเจน ว่าสั่งจ่ายให้ใคร เท่าไหร่ เมื่อใด เพื่อง่ายและสะดวกต่อการตรวจสอบ statement นั่นเองค่ะ แล้วถ้าหากท่านไม่ได้ตั้งข้อกำหนดเงินเบิกเกินบัญชีไว้ เงินในบัญชีที่ท่านมีต้องเพียงพอต่อการสั่งจ่ายในเช็คด้วยค่ะ เนื่องจากปัจจุบันการสั่งจ่ายโดยเช็คเปลี่ยนมาใช้ระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คหรือที่เรียกว่า ICAS ซึ่งจะจ่ายเงินได้รวดเร็วยิ่งขึ้น หากมีเงินไม่เพียงพอในบัญชีอาจทำให้เกิดเช็คเด้งได้ อาจทำให้ความน่าเชื่อถือของผู้สั่งจ่ายลดลงได้ค่ะ
หากมีข้อสงสัยว่าจะฝากเงินที่ไหนดี? ซึ่งในแต่ละที่ ในแต่ละธนาคารก็มีรายละเอียดต่างๆแตกต่างกันไป หากอยากทราบว่าดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุดอยู่ที่ธนาคารไหน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ
ตารางเปรียบเทียบจะฝากเงินที่ไหนดีกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกระแสรายวันแต่ละธนาคาร
ธนาคาร | ชื่อเงินฝาก | จุดเด่น | เงื่อนไข | ดอกเบี้ย |
ธนาคารกสิกรไทย | บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน | ใช้เช็คในการสั่งจ่ายหรือเบิกถอนเงินจากบัญชี | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 10,000 บาท | ไม่มี |
ธนาคารธนชาต | กระแสรายวัน | ใช้เช็คในการสั่งจ่ายหรือเบิกถอนเงินจากบัญชี และสามารถทำบัตร ATM และบัตรเดบิตเพื่อถอนเงินได้ | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 10,000 บาท | ไม่มี |
ธนาคารธนชาต | Freever-more | รับดอกเบี้ยทุกเดือน ฟรีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมการเงินทุกช่องทางของธนาคารธนชาต และ โอนเงินต่างธนาคาร ได้ไม่จำกัดจำนวนเงินและไม่จำนวนครั้ง | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 10,000 บาท | 0.125 |
ธนาคารกรุงไทย | เงินฝากกระแสรายวัน | ใช้เช็คในการสั่งจ่ายหรือเบิกถอนเงินจากบัญชี และสามารถทำบัตร ATM และบัตรเดบิตเพื่อถอนเงินได้ | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 10,000 บาท | ไม่มี |
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร | เงินฝากกระแสรายวัน | ใช้เช็คในการสั่งจ่ายหรือเบิกถอนเงินจากบัญชีและสามารถทำบัตร ATM และบัตรเดบิตเพื่อถอนเงินได้ | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 10,000 บาท | ไม่มี |
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร | กระแสรายวัน Plus | ใช้เช็คในการสั่งจ่ายหรือเบิกถอนเงินจากบัญชีและสามารถทำบัตร ATM และบัตรเดบิตเพื่อถอนเงินได้ | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 10,000 บาท | 0.5 |
ธนาคารออมสิน | เงินฝากกระแสรายวัน | ใช้เช็คในการสั่งจ่ายหรือเบิกถอนเงินจากบัญชี โดยที่ไม่พกเงินสด | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 5,000 บาท | 0.5 |
บัญชีเงินฝากประจำรายเดือนแบบปลอดภาษี คืออะไร?
มาถึงบัญชีเงินฝากประจำรายเดือนแบบปลอดภาษีค่ะ ก็ตามชื่อเลยค่ะทุกท่านนั่นคือเป็นบัญชีเงินฝากประจำที่ได้รับการยกเว้นภาษีนั่นเองค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องฝากเงินเป็นจำนวนเท่ากันทุก ๆ เดือนตลอดอายุสัญญาที่แต่ละธนาคารกำหนดไว้ อาจเป็น 24 เดือน หรือ 36 เดือน ซึ่งแต่ละเดือนต้องฝากเงินไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,000 บาท ทำให้บัญชีประเภทนี้เหมาะกับผู้ที่มีรายได้ประจำ สามารถฝากเงินได้อย่างสม่ำเสมอในทุกๆเดือน โดยบัญชีประเภทนี้สามารถเปิดได้เพียง 1 บัญชีต่อ 1 คนเท่านั้นค่ะ หากสนใจจะเลือกเปิดบัญชีฝากประจำแบบปลอดภาษีแล้วหล่ะก็ ควรเลือกฝากในธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยสูง โดยการขาดฝากในบัญชีชนิดนี้นั้นโดยธนาคารส่วนใหญ่แล้วจะกำหนดให้ขาดฝากได้ไม่เกิน 2 ครั้ง หากขาดฝากจะไม่ได้รับดอกเบี้ยตามที่ธนาคารกำหนด หรืออาจต้องเสียภาษี 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ ซึ่งเงื่อนไขเหล่านี้นั้นล้วนแตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคาร หากมีข้อสงสัยว่าออมเงินธนาคารไหนดี iMoney ช่วยคุณได้ค่ะ
โดยในแต่ละธนาคารก็มีรายละเอียดต่างๆแตกต่างกันไป หากท่านอยากเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของแต่ละธนาคาร อยากรู้เงินฝากดอกเบี้ยสูง สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ
ตารางเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจําทุกธนาคารประเภทฝากประจำรายเดือนแบบปลอดภาษี
ธนาคาร | ชื่อเงินฝาก | จุดเด่น | เงื่อนไข | ดอกเบี้ย |
ธนาคารไทยพาณิชย์ | เงินฝากระยะยาวโบนัส 24 เดือน / เงินฝากระยะยาวโบนัส 36 เดือน | ดอกเบี้ยที่ดีกว่าเงินฝากทั่วไป และปลอดภาษีดอกเบี้ย | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 500 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 900,000 บาท | 2.25 – 2.60 |
ธนาคารไทยพาณิชย์ | บัญชีเงินฝากระยะยาว สมาร์ทคิดส์ 24 เดือน | รับดอกเบี้ยในอัตราที่สูง และปลอดภาษีดอกเบี้ย | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท | 1.7 |
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา | เงินฝากประจำปลอดภาษี | ไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ย | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท | 0.40 – 1.70 |
ธนาคารธนชาต | ปลอดภาษี 24 เดือน | ปลอดการเสียภาษีดอกเบี้ย | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 300 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท | 2.3 |
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร | เงินฝากปลอดภาษี 24 เดือน | ปลอดภาษีดอกเบี้ย และดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 0.80 ต่อปี หรือสูงสุดร้อยละ 1.10 ต่อปี | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาท | 2.5 |
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา | เงินฝากประจำปลอดภาษี | ไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ย | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท | 0.40 – 1.70 |
ธนาคารออมสิน | เงินฝากประจำรายเดือนยกเว้นภาษี | ยกเว้นการเสียภาษีดอกเบี้ย และฝากเงินเดือนละ 1 ครั้ง ๆ ละเท่าๆ กันทุกเดือน | เปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท | 2.25 |
บัญชีเงินฝากแบบขั้นบันได (Step-up Account) คืออะไร?
การฝากเงินแบบได้ดอกเบี้ยขั้นบันไดนั้น จะเป็นบัญชีเงินฝากแบบขั้นบันไดจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารต่างๆ แตกต่างกันเป็นช่วง ๆ ซึ่งดอกเบี้ยจะค่อยเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาฝากค่ะ เช่น หากคุณเลือกฝากประจำ Step up 9 เดือน ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ดอกเบี้ยที่ได้นั้นจะเป็นแบบขั้นบันไดค่ะ ซึ่งการคิดดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดมักจะเป็นการคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น คือจะไม่นำดอกเบี้ยที่ได้รับในช่วงก่อนหน้ามารวมเป็นเงินต้นในช่วงถัดไป และจะโอนดอกเบี้ยที่ได้เข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของคุณค่ะ
ระยะเวลาในการฝากเงิน | อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับ |
ฝากเงินเดือนที่ 1 – เดือนที่ 3 | ร้อยละ 1.30 ต่อปี |
ฝากเงินเดือนที่ 4 – เดือนที่ 6 | ร้อยละ 1.35 ต่อปี |
ฝากเงินเดือนที่ 7 – เดือนที่ 9 | ร้อยละ 1.75 ต่อปี |
บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศคืออะไร?
พวกเรา iMoney จะพาทุกท่านไปรู้จักกับบัญชีประเภทนี้กันค่ะ บัญชีชนิดนี้เป็นบัญชีเงินฝากที่เหมาะกับผู้ที่มีรายรับหรือมีภาระค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินตราต่างประเทศ สามารถใช้เงินในบัญชีมาทำธุรกรรมทางการเงินได้เลยโดยไม่ต้องแลกเปลี่ยนเงินบ่อย ๆ ซึ่งลูกค้าสามารถเปิดได้ทั้งบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ และเงินฝากกระแสรายวัน โดยดอกเบี้ยรับที่ได้จะต้องเสียภาษีด้วย อย่างไรก็ตาม การฝากเงินเป็นเงินตราต่างประเทศจะไม่ได้รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และค่าบริการในการทำธุรกรรมสำหรับบัญชีประเภทนี้อาจจะสูงกว่าดอกเบี้ยที่ได้รับ คุณสามารถศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศได้ที่หัวข้อ บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ
อัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทนที่แท้จริง
จะเปิดบัญชีเงินฝากทั้งที่เรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม อย่างน้อยต้องทราบถึง วิธีการคำนวณดอกเบี้ย ความถี่ในการจ่าย จำนวนวันต่อปีที่ใช้ในการคิดดอกเบี้ย โดยการคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากประจำ จะมีสูตรวิธีการคำนวณดังนี้
ตัวอย่าง หากคุณฝากเงินประจำ จำนวนเงิน 10,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน ธนาคารให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ร้อยละ 3 ต่อปีค่ะฉะนั้น ก่อนอื่นเราจะต้องมาคำนวณดอกเบี้ยที่จะได้รับหลังจากหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% เสียก่อนว่าคุณจะได้ดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ที่เท่าไรนั้น
ดอกเบี้ยที่จะได้รับนั้น 100% จะต้องเสียภาษี 15% ทำให้เพื่อนๆจะได้รับดอกเบี้ยจริงๆ 85% จะได้สูตร ดังนี้ 3 (คืออัตราดอกเบี้ย) x 0.85 (คืออัตราดอกเบี้ยที่ได้หักภาษี ณ จ่าย) = 2.55% (ใช้ตัวเลขนี้คำนวณดอกเบี้ย)
จากสูตรจะได้
(เงินต้น X อัตราดอกเบี้ยหลังหักภาษี X จำนวนวันที่ฝาก) / 365 วัน
จะได้ผลลัพท์ (10,000 X 2.55% X 90) / 365 วัน = 62.88 บาท
แล้วถ้าหากต้องการฝากเงินดอกเบี้ยสูงให้ลูก ฝากกับธนาคารไหนดี ที่ให้ดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุด
ตาม iMoney ไปดูกันเลยค่ะว่าควรเลือกแบบไหน ออมเงินกับธนาคารไหนดี เรารับรองว่าตอบคำถามในใจของคุณได้อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นธนาคารไหนให้ดอกเบี้ยสูง?หรือควรจะเปิดบัญชีธนาคารไหนดี? อยากฝากเงินดอกเบี้ยสูงควรเลือกบัญชีเงินฝากประเภทไหน? คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านก็เลือกได้เลยค่ะ
10 บัญชีเงินฝากประจําดอกเบี้ยสูง 2563
ธนาคาร | ชื่อเงินฝาก | จุดเด่น | ดอกเบี้ย |
ธนาคารไทยพาณิชย์ | เงินฝากระยะยาวโบนัส 24 เดือน / เงินฝากระยะยาวโบนัส 36 เดือน | ดอกเบี้ยที่ดีกว่าดอกเบี้ยเงินฝากทั่วไป และยกเว้นการเสียภาษีดอกเบี้ย | 2.25 – 2.60 |
ธนาคารกรุงไทย | เงินฝากประจำดอกเบี้ยสูง KTB ZERO TAX MAX | ยกเว้นการเสียภาษีดอกเบี้ย และฝากเงินเท่ากันทุกเดือนๆ ละ 1 ครั้ง | 2.25 – 2.50 |
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร | เงินฝากปลอดภาษี 24 เดือน | ยกเว้นการเสียภาษีดอกเบี้ย และฝากเงินเท่ากันทุกเดือนๆ ละ 1 ครั้ง | 2.5 |
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | บัญชีเงินฝากประจำสะสมทรัพย์ | ยกเว้นการเสียภาษีดอกเบี้ย และได้โบนัสพิเศษดอกเบี้ยเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อปี | 2.5 |
ธนาคารธนชาต | ปลอดภาษี 24 เดือน | ยกเว้นการเสียภาษีดอกเบี้ย และฝากเงินเท่ากันทุกเดือนๆ ละ 1 ครั้ง | 2.3 |
ธนาคารกสิกรไทย | บัญชีเงินฝากทวีทรัพย์ | ยกเว้นการเสียภาษีดอกเบี้ย | 2.25 |
ธนาคารออมสิน | เงินฝากประจำรายเดือนยกเว้นภาษี | ยกเว้นการเสียภาษีดอกเบี้ย และฝากเงินเท่ากันทุกเดือนๆ ละ 1 ครั้ง | 2.25 |
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | บัญชีเงินฝากประจำ | สามารถเลือกระยะเวลาในการฝากได้เอง และไม่ต้องฝากเงินทุกเดือน | 0.25 – 2.00 |
ธนาคารออมสิน | เงินฝากประจำรายเดือน 3 เดือน / 6 เดือน / 12 เดือน | ไม่ต้องฝากประจำทุกเดือน และถอนครั้งละเท่าใดก็ได้ | 0.85 – 2.00 |
ธนาคารออมสิน | การฝากประจำ 24 M Plus /การฝากประจำ 36 M Plus | รับดอกเบี้ยทุก 12 เดือน และใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ | 1.20 – 2.00 |
10 เงินฝากดอกเบี้ยสูงประเภทออมทรัพย์ยอดนิยมประจำปี 2563
ธนาคาร | ชื่อเงินฝาก | จุดเด่น | ดอกเบี้ย |
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา | บัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษ | เงินฝากดอกเบี้ยสูง รับดอกเบี้ยเป็นรายเดือน และไม่จำกัดเงินคงเหลือในบัญชี | 0.10 – 2.00 |
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | บัญชีเงินฝากออมทรัพย์เจ้าสัว | รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราที่สูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ | 1.50 – 1.80 |
ธนาคารธนชาต | บัญชี e-SAVINGS | ฝากเงินแบบออมทรัพย์ แต่รับดอกเบี้ยสูงตั้งแต่บาทแรก และถอนเงินก็ยังได้รับดอกเบี้ยเต็มๆ | 1.50 – 1.80 |
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | เงินฝากออมทรัพย์ Flexi | รับดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราที่สูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ | 0.90 – 1.75 |
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | เงินฝากออมทรัพย์ซุปเปอร์ออมทรัพย์พิเศษ | ฟรีค่าธรรมเนียมการโอนเงิน และถอนเงินได้เดือนละ 1 ครั้ง | 1.5 |
ธนาคารธนชาต | อัลตร้าเซฟวิ่ง | ฝากเงินแบบออมทรัพย์ แต่รับดอกเบี้ยสูงเหมือนเงินฝากประจำ | 0.80 – 1.50 |
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา | เงินฝากออมทรัพย์มีแต่ได้ | ได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเป็นรายเดือน และไม่จำกัดเงินคงเหลือในบัญชี | 0.60 – 1.30 |
ธนาคารออมสิน | เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ 11 เดือน | ถอนเงินเท่าไรก็ได้ไม่จำกัด และไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ย | 1.25 |
ธนาคารไทยพาณิชย์ | เงินฝากออมทรัพย์ อีซี่ (EZ Savings Account) | เบิกถอนเงินโดยไม่ต้องใช้บัตร ATM และได้ดอกเบี้ยในอัตราที่สูง | 1.2 |
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร | เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ | รับดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ธรรมดา และยกเว้นการเสียภาษีดอกเบี้ย | 0.80 – 1.10 |
ดอกเบี้ยเงินฝากจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายเท่าไร?
การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน ไม่ว่าคุณจะมีรายได้มาจากทางไหนก็จะต้องเสียภาษี โดยรูปแบบการเสียภาษีจะแตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับการฝากประจํา ดอกเบี้ยสูง เมื่อได้รับดอกเบี้ย ก็จะต้องเสียภาษี แต่การเสียภาษีนี้ก็จะมีข้อยกเว้น หรือมีเกณฑ์เป็นตัวกำหนดในการเสียภาษีค่ะ ซึ่งจะต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยรับ โดยจะได้รับยกเว้นในส่วน 20,000 บาทแรกตลอดปีภาษี หากคุณได้รับดอกเบี้ยเกิน 20,000 บาท จะต้องนำมารวมเพื่อคำนวณภาษีเงินได้ทั้งจำนวนด้วย นั้นหมายถึงว่าจะรวมกับทุกบัญชีที่คุณมีนะคะ ไม่ใช่นับแค่ธนาคารเดียวค่ะ
เมื่อใดที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมและเบี้ยปรับต่างๆ?
มาพูดถึงเรื่องของค่าธรรมเนียมต่างๆ และเบี้ยปรับ หากไม่ดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งก็จะเกิดขึ้นได้จากหลายกรณีด้วยกัน อาทิ
- ค่าธรรมเนียมของการรักษาบัญชีเงินฝาก โดยจะต้องจ่ายเมื่อจำนวนเงินในบัญชีมียอดต่ำกว่าเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด โดยธนาคารจะมีหนังสือแจ้งเตือนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันแก่เจ้าของบัญชี ซึ่งสามารถเลี่ยงได้โดยปิดบัญชีหรือฝากเงินเพิ่มให้ตรงตามขั้นต่ำที่ทางธนาคารกำหนด
- ค่าธรรมเนียมบัตรATM หรือเดบิต เป็นค่าแรกเปิดบัตร หรือค่าธรรมเนียมรายปี
- ค่าธรรมเนียมและเบี้ยปรับอื่นๆ เช่น การโอนเงินอัตโนมัติ ขอ statement ย้อนหลัง เป็นต้น
การคุ้มครองเงินฝากคืออะไร? มีเงื่อนไขการคุ้มครองเงินฝากอย่างไร?
การคุ้มครองเงินฝากคืออะไร ทำไมต้องมีการคุ้มครอง และใครได้ประโยชน์ ? คำถามนี้เชื่อว่าย่อมเกิดขึ้นกับหลายๆคน ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้มีการคุ้มครองเงินฝาก ก็เพื่อคุ้มครองเงินฝากในสถาบันการเงิน เสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน ในกรณีที่ธนาคาร หรือสถาบันการเงินใดที่ต้องประสบปัญหา หรือมีการปิดกิจการ คุณที่ฝากเงินที่อยู่ความคุ้มครองก็จะได้รับเงินที่ฝากไว้คืนตามกฎหมายอย่างรวดเร็ว และคนที่ได้รับประโยชน์จากการคุ้มครองนี้ ก็จะมีทั้งตัวคุณเองที่ฝากเงินที่จะได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากโดยอัตโนมัติ ดังนั้นคุณจึงไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ได้รับเงินคืน
การแจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่จำเป็นหรือไม่?
สำหรับการแจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ต่างๆ หากเปลี่ยนแปลงต้องแจ้งให้ธนาคารที่เรามีบัญชีอยู่ทราบด้วยค่ะ เนื่องจากหากธนาคารเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ อาทิ กรณีแจ้งบัญชีเงินฝากไม่เคลื่อนไหวก่อนเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรักษาบัญชี หรือแจ้งให้ลูกค้าทราบสถานะทางบัญชีเนื่องจากขาดการติดต่อเป็นระยะเวลานาน ธนาคารจะแจ้งเป็นจดหมายลงทะเบียนให้ทราบ 2 ครั้ง โดยจะใช้ที่อยู่ที่เราแจ้งไว้ในตอนเปิดบัญชี หรือที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้อย่างเป็นทางการ ไม่ว่าจะติดต่อได้หรือไม่ได้ก็ตาม จะถือว่าได้แจ้งให้ทราบแล้วนั่นเองค่ะ ดังนั้น เราควรแจ้งแกธนาคารเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่มิฉนั้นอาจทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น หรือเกิดผลกระทบและความเสียหายอื่นๆ ได้
รับจ้างเปิดบัญชีมีโทษตามกฎหมายอย่างไร?
หากรับเปิดบัญชีหรือรับจ้างเปิดบัญชีเพื่อหวังค่าตอบแทน มีโทษอย่างไร iMoney พาทุกคนไทราบกันค่ะ โดยการรับจ้างเปิดบัญชีหรือการหลอกให้ผู้อื่นโอนเงินให้ นั้นเข้าข่ายการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งเป็นหนึ่งในความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ตามมาตรา 60 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือมีการปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทหรือสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นเรื่องที่ไม่ควรเสี่ยงจริงๆค่ะ แต่ถ้าหากในกรณีที่ได้รับจ้างเปิดบัญชีและได้มอบสมุดเงินฝากและบัตรATM ให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ท่านต้องรีบติดต่อไปยังธนาคารเจ้าของบัญชี เพื่อสอบถามถึงวิธีปฏิบัติในการขอปิดบัญชีและยกเลิกการใช้บัตรเอทีเอ็มต่างๆ หรือทำการแจ้งความและนำบัตรประชาชนไปติดต่อยังสาขาที่เปิดบัญชี เพื่อระงับบันชีนั้นๆค่ะ
บัตรเอทีเอ็ม บัตรเดบิต ต่างกันอย่างไร? จำเป็นหรือไม่ที่ต้องทำ?
โดยเมื่อเราทำการเปิดบัญชีเงินฝาก ก็มักจะแนะนำให้ทำบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิตไปพร้อมกัน ซึ่งทั้งสองมีความแตกต่างกัน iMoney จะมาเล่าให้ทุกคนได้รู้จักความแตกต่างทั้งคู่ค่ะ โดยความแตกต่างระหว่างบัตรเดบิตกับบัตรเอทีเอ็ม ส่วนแรกคือเดบิตนอกจากจะใช้ในการฝาก ถอนเงิน โอนเงิน ยังสามารถใช้สำหรับรูดซื้อสินค้าได้อีกด้วย ซึ่งพนักงานธนาคารมักชักจูงให้เราทำพ่วงกับประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ ซึ่งค่าธรรมเนียมในการทำบัตรแบบนี้ก็จะแพงกว่าบัตรเอทีเอ็มหรือเดบิตแบบปกติอย่างมาก หากไม่ต้องการเราสามารถปฏิเสธได้ และหากรู้สึกว่าถูกบังคับสามารถร้องเรียนได้ที่ call center ของธนาคารนั้นๆ หรือโทรแจงได้ที่ ศคง. กด 1213 เพราะทุกสิ่งคือสิทธิส่วนบุคคลนั่นเองค่ะ
การหักเงินในบัญชีเงินฝากเพื่อชำระหนี้คืออะไร?
ธนาคารมีสิทธิในการหักเงินในบัญชีของเราเพื่อชำระหนี้ที่เรามีอยู่กับธนาคารได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าแก่ท่าน หากได้ลงนามในข้อตกลงยินยอมให้ธนาคารหักเงินในบัญชีเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่นั่นเองค่ะ ซึ่งข้อตกลงนี้มักจะอยู่ในข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการเงินฝากที่ได้ถูกลงนามยินยอมรับข้อตกลงนั้นแล้วตั้งแต่วันที่เปิดบัญชีเงินฝาก หรืออยู่ในเงื่อนไขของการใช้บัตรเครดิตต่างๆ ซึ่งหากท่านค้างชำระหนี้สินแก่ธนาคาร ก็จะถูกหักเงินจากบัญชีจ่ายหนี้นั้นได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบค่ะ
เป็นยังไงกันบ้างคะ กับคำถามต่างๆที่เราได้รวบรวมมาให้ คงจะทำให้คุณหายสงสัย และมีความเข้าใจเกี่ยวกับเงินฝากกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฝากเงินธนาคารไหนดี ธนาคารไหนให้ดอกเบี้ยสูง ดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุด อยู่ที่ไหน ทุกคำถาม ทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับเงินฝาก iMoney ช่วยท่านไข ด้วยเนื้อหาที่จุใจ หากต้องการทราบเพิ่มเติมถึงรายละเอียดของแต่ละชนิดอย่างลึกเข้าไปอีก ท่านสามารถติดตามอ่านได้ที่เว็บไซต์ของเรา รับรองไม่ผิดหวัง ไว้พบกันใหม่กับบทความนานาสาระเรื่องเงินที่ iMoney.in.th ในบทความต่อไปค่ะ