คงไม่มีใครที่อยากจะเป็นหนี้ ยิ่งหนี้บัตรเครดิตด้วยแล้ว เพราะความจำเป็นในการใช้เงินของแต่ละแตกต่างกัน บางคนก็ไม่มีทางเหลือจึงจำเป็นจะต้องใช้เงินจากบัตรเครดิต บางคนก็ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย รู้ตัวอีกทีก็หนี้ตัวโตแล้ว ในเมื่อเป็นหนี้ไปแล้วก็อย่ามัวแต่โทษตัวเอง มาหาทางออกร่วมกันน่าจะดีกว่า การเป็นหนี้บัตรเครดิต ถ้าไม่มีเงินจ่ายก็ไม่ถึงขั้นติดคุก เพราะเป็นคดีแพ่ง แต่การยึดทรัพย์สินต่างๆนั้นมีแน่นอน หากเราไม่มีเงินไปจ่าย ซึ่งวิธีการยึดทรัพย์ในกรณีที่เป็นหนี้บัตรเครดิตจะเป็นอย่างไรนั้นมาดูกันค่ะ
เช็คข้อมูลสินเชื่อรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตทุกธนาคารที่นี่
รับคำปรึกษาเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตได้ที่ Line ของ iMoney
Advertising :
หนี้บัตรเครดิตยึดทรัพย์
Credit : https://pixabay.com
หากไม่จ่ายหนี้บัตรเครดิตนานแค่ไหนถึงจะถูกยึดทรัพย์
- การที่ยึดทรัพย์สินได้นั้นจะต้องเป็นคำสั่งมาจากศาล ซึ่งก็จะเริ่มกระบวนกันไปตั้งแต่โทรทวงถาม จนถึงขั้นฟ้องร้องดำเนินคดี หากมีการไกล่เกลี่ยกันแล้ว ทำข้อตกลงต่อหน้าศาลแล้ว ท้ายสุดก็ยังไม่สามารถจ่ายเงินคืนให้กับเจ้าหนี้ได้นั้น ธนาคารก็มีสิทธิ์ที่กลับไปยื่นฟ้องต่อศาลใหม่อีกครั้ง เพื่อให้ศาลออกหมายบังคับดคี ให้มีการยึดทรัพย์ของคุณได้ และเมื่อมีหมายศาลออกมาแล้วเจ้าพนักงานบังคับดคีของกรมบังคับคดีก็จะเข้ามาทำหน้าที่ยึดทรัพย์สินต่างๆ ให้ศาลสั่งขายทอดตลาด เพื่อนำเงินที่ได้จากการขายทรัพย์มาชำระหนี้ให้กับธนาคารต่อไป
กรณีที่มีการยึดทรัพย์สิน มีทรัพย์สินอะไรบ้างที่สามารถยึดได้และทรัพย์อะไรที่ไม่สามารถยึดได้
- ในการยึดทรัพย์สินนั้นจะแบ่งออกเป็น ทรัพย์สินที่ยึดได้ และทรัพย์สินที่ไม่สามารถยึดได้
- ทรัพย์สินที่สามารถยึดได้ จะมีดังนี้
- บ้าน ที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือที่ดินที่ติดจำนองอยู่ก็ตาม
- เครื่องประดับที่มีค่า เช่น เพชร พลอย นาฬิกา และของสะสมที่มีมูลค่า
- รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ ซึ่งจะต้องชื่อของคุณ และจะต้องไม่ใช่เป็นรถที่ไว้ใช้ทำมาหากิน
- เงินในบัญชีเงินฝาก หรือมีเงินปันผลที่ได้มาจากการลงทุนต่างๆ
- ทรัพย์สินที่ได้มาจากการลงทุน เช่น หุ้นที่ซื้อ ทองคำ ตราสารหนี้ หรือกองทุน
- เงินเดือนของคุณ ซึ่งจะต้องมีรายได้ที่เกิน 20,000 บาทต่อเดือน จึงจะสามารถยึดได้ และคุณจะต้องทำเป็นพนักงานบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจเท่านั้น หากเป็นข้าราชการจะไม่สามารถยึดเงินเดือนนี้ได้
- ทรัพย์สินที่ไม่สามารถยึดได้ จะมีดังนี้
- ของใช้ส่วนตัว มูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท
- เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ทำมาหากิน ที่มีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
- ทรัพย์สินที่ยังไม่ได้มีการโอนให้เป็นชื่อคุณตามกฎหมาย
- เงินเดือน ค่าจ้าง บํานาญ บําเหน็จ เบี้ยหวัดของลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการ
- เงินเบี้ยเลี้ยงชีพ และเงินฌาปนกิจสงเคราะห์
- เงินที่มาจากบุคคลอื่นที่ให้เพื่อในการเลี้ยงชีพ ซึ่งจะต้องไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือน
- ทรัพย์สินที่สามารถยึดได้ จะมีดังนี้
การที่เป็นหนี้แล้วถ้าไม่จ่ายหนี้ ย่อมมีเรื่องวุ่นวายมากมายตามมาในภายหลัง แต่ถ้าจะให้ดีควรแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุด้วยการไม่ก่อสร้างหนี้จนเกินตัว ใช้เงินเท่าที่มี หากเลือกจ่ายด้วยเงินสดได้ก็ยิ่งดี หากใครที่มีปัญหาเรื่องการเงิน ปรึกษากับเราได้กับ iMoney
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูล