ข้อมูลเงินฝาก ธกส ดอกเบี้ยสูงอัพเดท อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ธกสเท่าไหร่ ฝากประจํามีแบบไหนบ้าง เปิดบัญชี ธกส ดีไหม มีแบบไหน มาดูกันที่ imoney
เงินฝากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรหรือเงินฝาก ธกส – สวัสดีค่ะกลับมาพบกับพวกเรา iMoney ที่มาพร้อมกับบทความดีๆ ที่แนะนำเรื่องการเงินให้กับเพื่อนๆ สำหรับปีใหม่ที่เพิ่งจะเริ่มต้นที่ผ่านมา หลายคนอาจจะกำลังวางแผนการใช้ชีวิต มีเป้าหมายที่ตั้งใจว่าจะต้องทำในปีนี้ เริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ เริ่มที่จะวางแผนการเงินว่าปีนี้จะต้องใช้หนี้ให้หมด และเริ่มต้นที่จะเก็บเงิน ออมเงินกันมากขึ้น การออมเงินสามารถทำได้หลายแบบค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการหยอดกระปุกออมสิน วันละนิดวันหน่อย เก็บเงินสะสมแบงค์ 50 แบงค์ 100 เป็นต้น หากจะออมเงินแบบเป็นการฝากเงินนั้น ธนาคารจะมีให้เพื่อนๆเลือกหลายแบบเลยค่ะ ถ้าจะเน้นฝากเงินเพื่อหวังผลดอกเบี้ยก็ต้องเป็นฝากเงินแบบประจำ ซึ่งการฝากประจำนั้น ธนาคารก็จะมีให้เลือกหลายแบบไม่ว่าจะเป็นฝากประจำ 3 เดือน ฝากประจำ 6 เดือน หรือจะฝากประจำ 12 เดือน ค่ะ พอมีหลายผลิตภัณฑ์ก็อาจจะทำให้เพื่อนๆหลายคนเริ่มสับสนว่าจะฝากเงินแบบไหนดี แล้วแบบไหนที่จะเหมาะกับเพื่อนๆ วันนี้ iMoney ก็มีผลิตภัณฑ์เงินฝากของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือที่เราเรียกกันว่า เงินฝาก ธกส ค่ะ เพื่อนๆอาจจะคิดว่า เอ๋ !!! ธกส. เป็นธนาคารสำหรับเกษตรกรหรือป่าวนะ ทำไมมีประเภทเงินฝากสำหรับบุคคลทั่วไปด้วยเหรอ iMoney บอกได้เลยค่ะว่า ธกส. ก็เป็นธนาคารของรัฐแห่งหนึ่งค่ะ ซึ่งจะให้บริการด้านการเงินเหมือนกับธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือธนาคารของเอกชนทั่วไปค่ะ ธ.ก.ส. เป็นรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลถือหุ้นอยู่ค่ะ ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะเน้นไปทางให้ความช่วยเหลือกับพี่น้องเกษตรกรมากกว่าธนาคารอื่นๆแค่นั้นเองค่ะ คราวนี้เรามาดูผลิตภัณฑ์เงินฝากกันดีกว่าค่ะ ว่า ธ.ก.ส.มีเงินฝากอะไรบ้างที่สนใจ และให้ผลตอบแทนเป็นยังไงบ้างนั้น iMoney เราได้รวบรวมมาไว้ที่นี่แล้วค่ะ มาติดตามกันเลยค่ะ
รวมทุกผลิตภัณฑ์เงินฝาก ธ.ก.ส อัพเดทล่าสุด 2563
ประเภทเงินฝาก |
ชื่อเงินฝาก | จุดเด่น | เงื่อนไขการฝาก | คุณสมบัติ |
ดอกเบี้ย |
เงินฝากออมทรัพย์ |
เงินฝากออมทรัพย์ | ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย | เปิดบัญชีไม่ต่ำกว่า 50 บาท | บุคคลธรรมดา/นิติบุคคลทั่วไป/ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ/ผู้ที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ | ดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 0.40 ต่อปี หรือสูงสุดร้อยละ 0.50 ต่อปี |
เงินฝากออมทรัพย์ | เงินฝากออมทรัพย์ทวีโชค | ยิ่งฝากเงินมาก ก็ยิ่งมีสิทธิ์ชิงรางวัลมาก และใช้เป็นหลักประกันเงินกู้กับธนาคาร | เปิดบัญชีไม่ต่ำกว่า 50 บาท | เฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น |
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.70 ต่อปี |
เงินฝากออมทรัพย์ |
เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ | ได้รับดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ธรรมดา และปลอดภาษีดอกเบี้ย | เปิดบัญชีไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท | บุคคลธรรมดา/นิติบุคคลทั่วไป/ส่วนราชการ/ ผู้ที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ |
ดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 0.80 ต่อปี หรือสูงสุดร้อยละ 1.10 ต่อปี |
เงินฝากประจำ |
เงินฝากประจำ | อิสระทางเลือกในการฝากเงินที่หลากหลาย และไม่ต้องฝากเงินทุกเดือน | เปิดบัญชีไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท | บุคคลธรรมดา/นิติบุคคลทั่วไป/ส่วนราชการ/ รัฐวิสาหกิจ/ผู้ที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ |
ดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 0.90 ต่อปี หรือสูงสุดร้อยละ 1.50 ต่อปี |
เงินฝากออมทรัพย์โครงการ |
เงินฝากปลอดภาษี 24 เดือน | ปลอดภาษีดอกเบี้ย และดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 0.80 ต่อปี หรือสูงสุดร้อยละ 1.10 ต่อปี | เปิดบัญชีไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท | เฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น |
ดอกเบี้ยร้อยละ 2.50 ต่อปี |
เงินฝากออมทรัพย์โครงการ |
เงินออมสัจจะยั่งยืน | ได้รับเงินช่วยสวัสดิการ และเงินสนับสนุนกิจกรรม | เปิดบัญชีไม่ต่ำกว่า 50 บาท | เฉพาะกลุ่มออมทรัพย์ หรือกลุ่มเกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน และวิสาหกิจชุมชนเท่านั้น | ดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี |
เงินฝากออมทรัพย์โครงการ | เงินฝากออมทรัพย์ Senior Savings | ฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงิน ไม่จำกัดจำนวนครั้ง | เปิดบัญชีไม่ต่ำกว่า 100 บาท | บุคคลธรรมดาที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป |
ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 0.99 ต่อปี |
เงินฝากกระแสรายวัน |
เงินฝากกระแสรายวัน | ใช้เช็คในการสั่งจ่ายหรือเบิกถอนเงินจากบัญชีและสามารถทำบัตร ATM และบัตรเดบิตเพื่อถอนเงินได้ | เปิดบัญชีไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท | บุคคลธรรมดา/นิติบุคคลทั่วไป/ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ/ผู้ที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ |
ไม่มี |
เงินฝากกระแสรายวัน |
กระแสรายวัน Plus | ใช้เช็คในการสั่งจ่ายหรือเบิกถอนเงินจากบัญชีและสามารถทำบัตร ATM และบัตรเดบิตเพื่อถอนเงินได้ | เปิดบัญชีไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท | บุคคลธรรมดา/นิติบุคคลทั่วไป/ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ/ผู้ที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ |
ดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี (เฉพาะในกรณีที่เงินมีมากกว่า 10,000 บาทในบัญชี) |
Credit : https://pixabay.com
บัญชีเงินฝากประเภทฝากออมทรัพย์
เงินฝาก ธกส ออมทรัพย์
เงินฝากออมทรัพย์ เป็นการออมเงินไว้ใช้จ่ายทั่วไป ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะได้ต่ำสุด ซึ่งจะได้รับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 ต่อปีค่ะ การฝากเงินประเภทออมทรัพย์จะทำให้เพื่อนๆง่ายต่อการใช้จ่าย จะถอนเงินตอนไหนก็ได้ไม่จำกัดจำนวนเงิน หรือจำกัดจำนวนครั้งต่อวันเลยค่ะ หรือจะออมเงินไว้ใช้ในอนาคตก็ได้เช่นกันค่ะ
เงื่อนไขการฝาก เงินฝาก ธกส ออมทรัพย์
- ดอกเบี้ยเงินฝากได้รับจากเงินฝากออมทรัพย์ไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ย
- สามารถเปิดบัญชีเงินฝากได้ทั้งบุคคลธรรมดาหรือจะเป็นนิติบุคคลก็ได้
- ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเงินฝากให้เป็นรายวันตามระยะเวลาในการฝาก
- จะได้รับดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนปีละ 2 ครั้ง ธนาคารจะจ่ายให้ 6 เดือน 1 ครั้ง
- หากต้องการขอสินเชื่อสามารถนำสมุดบัญชีเงินฝากมาค้ำประกันในการขอกู้เงินกับธนาคาร
คุณสมบัติผู้ฝากออมทรัพย์ เงินฝาก ธกส
- สามารถเปิดบัญชีได้ตั้งแต่อายุ 7 ปีขึ้นไปในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดาทั่วไป
- นิติบุคคลทุกประเภทก็สามารถเปิดบัญชีออมทรัพย์ได้เช่นกัน
อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ธกส ออมทรัพย์
- ธนาคารจะให้ดอกเบี้ยแต่ละกลุ่มประเภทของผู้ที่เปิดบัญชีกับธนาคารไม่เหมือนกัน โดยธนาคารจะแบ่งไปตามอาชีพ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
บุคคลธรรมดา/นิติบุคคลทั่วไป |
ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ |
ผู้ที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ |
อัตราร้อยละ 0.50 ต่อปี |
อัตราร้อยละ 0.40 ต่อปี |
0.00 |
สำหรับผู้ที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ ฝากเงินประเภทออมทรัพย์นั้น จะไม่ได้รับดอกเบี้ยค่ะ และ ในการคิดดอกเบี้ยของ ธ.ก.ส. จะคิดเป็นรายวันค่ะ และจะจ่ายให้ทุก 6 เดือน ซึ่งจะเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของคุณเลยค่ะ ถ้าหากเปิดบัญชีในนามบุคคลธรรมดา ก็จะไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยค่ะ แต่ถ้าเปิดบัญชีในนามนิติบุคคลจะต้องเสียภาษีดอกเบี้ย ตามที่กรมสรรพากรกำหนด ปัจจุบันกำหนดภาษีดอกเบี้ย จะต้องจ่ายภาษี ณ ที่จ่าย 15% ค่ะ
เงื่อนไขในการฝากเงิน ธกส ประเภทฝากออมทรัพย์
- คุณจะต้องเปิดบัญชีไม่ต่ำกว่า 50 บาทค่ะ และในครั้งต่อไปคุณจะฝากเงินเท่าไรก็ได้ค่ะ แล้วแต่จะสะดวกเลยค่ะ
เงื่อนไขในการถอนเงินประเภทฝากออมทรัพย์
- สามารถถอนเงินเมื่อไรก็ได้ตามที่ต้องการโดยที่ธนาคารจะไม่กำหนดจำนวนเงินที่ถอนในแต่ละครั้งและไม่จำกัดจำนวนครั้งในการเบิกถอนเงินอีกด้วย
เอกสารในการเปิดบัญชีเงินฝาก ธกส ประเภทฝากออมทรัพย์
- กรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา
- บัตรประชาชนตัวจริงและถ่ายเอกสารสำเนาบัตรประชาชนมาเพิ่มอีก 1 แผ่น
- กรณีที่เปินนิติบุคคล
- บัตรประชาชนตัวจริง ขอผู้ที่ขอยื่นเปิดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนของบริษัทและกรรมการจะต้องเซ็นชื่อพร้อมประทับตรา
บริษัทมาให้เรียบร้อย - สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของบริษัทและกรรมการจะต้องเซ็นชื่อพร้อมประทับตรา.บริษัทมาให้เรียบร้อย
- สำเนาหนังสือบริคณห์สินธิของบริษัทและกรรมการจะต้องเซ็นชื่อพร้อมประทับตราบริษัทมาให้เรียบร้อย
- รายงานการประชุมของคณะกรรมการบริษัท ที่ได้อนุมัติในการทำนิติกรรมกับธนาคารและระบุอำนาจในการถอนเงินว่าใครสามารถทำการได้บ้าง
- เอกสารแสดงตนของผู้มีอำนาจลงนาม
- ตัวอย่างตราประทับของบริษัท หรือหนังสือรับรองตราประทับของบริษัท
เงินฝาก ธกส : เงินฝากออมทรัพย์ทวีโชค
เงินฝาก ธกส ออมทรัพย์ทวีโชค สำหรับคนที่รักการออมเงิน เพราะการออมเงินแบบเงินฝากออมทรัพย์ทวีโชคนั้น นอกจากจะได้ดอกเบี้ยแล้ว ยังมีสิทธิ์ลุ้นรับโชคอีกด้วยค่ะ ซึ่งใน 1 ปี ธ.ก.ส. จะมีการจับรางวัล 2 ครั้งค่ะ ยิ่งฝากมาก ยิ่งมีสิทธิ์ชิงโชคมากเท่านั้นค่ะ โดยจะได้ดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 0.70 ต่อปี สำหรับเพื่อนๆที่ชอบลุ้น ชิงโชค ต้องไม่พลาดกับเงินฝากออมทรัพย์ทวีโชคค่ะ
เงินฝาก ธกส ออมทรัพย์ทวีโชค มีเงื่อนไขการฝากอย่างไร
- ยิ่งฝากเงินมาก ก็ยิ่งมีสิทธิ์ชิงรางวัลมาก
- ได้รับดอกเบี้ยเงินฝาก
- มีโอกาสถูกรางวัลทุก 6 เดือนหรือตลอดระยะเวลาที่ฝากเงิน
- ใช้เป็นหลักประกันเงินกู้ ธ.ก.ส.
- ใช้เป็นหลักประกันในการออกหนังสือค้ำประกันจาก ธ.ก.ส.
- ใช้เป็นหลักประกันซองและประกันสัญญาในงานจัดซื้อจัดจ้างของ ธ.ก.ส.
คุณสมบัติผู้ฝาก ธกส ออมทรัพย์ทวีโชค
- บุคคลธรรมดา จะต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป
- กลุ่มบุคคล เช่น กลุ่มแม่บ้าน หรือ กลุ่มรัฐวิสาหกิจชุมชน เป็นต้น
อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ธกส ออมทรัพย์ทวีโชค
- อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.70 ต่อปี หากได้รับรางวัล คุณจะได้รับดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 เพราะส่วนที่เหลือจัดสรรเป็นค่าของรางวัลค่ะ
เงื่อนไขในการฝากเงิน ธกส ประเภทฝากออมทรัพย์ทวีโชค
- คุณจะต้องเปิดบัญชีไม่ต่ำกว่า 50 บาทค่ะ โดยสิทธิ์ที่จะได้รับชิงรางวัลนั้น จะขึ้นอยู่กับเงินฝากค่ะ
- หากมียอดเงินฝากคงเหลือทุกๆ 2,000 บาท หากฝากติดต่อกันทุกๆ 3 เดือนในแต่ละรอบการดำเนินการ คุณจะได้รับสิทธิ์จับรางวัล 1 สิทธิ์ค่ะ
- หากมียอดเงินฝากคงเหลือทุกๆ 5,000 บาท หากฝากติดต่อกันทุกๆ 3 เดือนในแต่ละรอบการดำเนินการ คุณจะได้รับสิทธิ์จับรางวัลเพิ่มอีก 3 สิทธิ์เลยค่ะ
เงื่อนไขในการถอนเงินประเภทฝากออมทรัพย์ทวีโชค
- หากต้องการถอนเงินเมื่อไรก็สามารถถอนเงินได้ตามที่ต้องการเลยค่ะ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และไม่จำนวนเงินด้วยค่ะ
การจับรางวัลของธนาคาร ธ.ก.ส.
- ธนาคารจะมีการจับรางวัล โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับจังหวัด ซึ่งจะจับรางวัล 2 ครั้งต่อปี และ ระดับประเทศ ซึ่งการจับรางวัลระดับประเทศนั้น ธนาคารจะเป็นผู้กำหนดแล้วแต่ความเหมาะสมค่ะ
- จับรางวัลระดับจังหวัด
- รอบที่ 1 ในช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน จับรางวัลเดือนกรกฎาคม ของทุกปี
- รอบที่ 2 ในช่วงระหว่างวันที่ 1 กรกฏาคม – 31 ธันวาคม จับรางวัลเดือนมกราคม ของทุกปี
- จับรางวัลระดับประเทศ
- ธ.ก.ส. จะเป็นผู้กำหนดในการจัดงานจับรางวัล ซึ่งแล้วแต่ความเหมาะสมค่ะ
- จับรางวัลระดับจังหวัด
ทั้งนี้ หากคุณที่ได้เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทวีโชค สามารถตรวจสอบสิทธิ์ในการลุ้นรางวัล และรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลได้ที่ ธ.ก.ส. ในสาขาที่เปิดบัญชีค่ะ และหากมีชื่อได้รับรางวัลนั้น ให้นำสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทวีโชคและหลักฐาน เพื่อมาแสดงตนรับของรางวัลได้ที่ ธ.ก.ส. สาขาที่ได้เปิดบัญชีไว้ค่ะ
เปิดบัญชีเงินฝาก ธกส ประเภทฝากออมทรัพย์ทวีโชค ประกอบด้วยเอกสารอะไรบ้าง
- ในกรณีที่เปิดบัญชีในนามบุคคลธรรมดา จะต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชน หรือ บัตรที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ โดยจะต้องมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักค่ะ
- ในกรณีที่เปิดบัญชีในนามกลุ่มบุคคล จะต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชน หรือ บัตรที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ โดยจะต้องมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักค่ะ
- รายงานการประชุม ต้องระบุรายชื่อสมาชิกและมติที่ประชุมมีการมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้เปิดบัญชีเงินฝากและถอนเงินฝาก
เงินฝาก ธกส : เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ
เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ เป็นการออมเงินที่จะให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงกว่า เงินฝากออมทรัพย์ค่ะ ซึ่งจะได้รับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.10 ต่อปีค่ะ ซึ่งการเงินฝากออมทรัพย์พิเศษจะมีเงื่อนไขในการฝากเงิน จะฝากเงินเมื่อไรก็ได้ แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท และถอนเงินได้เพียงเดือนละ 1 ครั้งเท่านั้นนะคะ หากถอนเงินเกินกว่าที่ ธ.ก.ส. กำหนด ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมค่ะ ซึ่งการออมเงินประเภทนี้ ก็ถือว่าเป็นการออมเงินจริงๆค่ะ เพราะจะทำให้คุณรู้สึกไม่อยากไปถอนให้เสียเวลา และเสียดายเงินที่ต้องการเสียค่าธรรมเนียมหากถอนเงินเกินค่ะ ถ้าหากไม่อยากจะฝากประจำรายเดือน ก็สามารถเปิดบัญชีเป็นการฝากออมทรัพย์พิเศษก็โอเคนะคะ
เงื่อนไขการฝากเงินฝาก ธกส ประเภทออมทรัพย์พิเศษ
- ยิ่งออมมากก็ยิ่งได้ดอกเบี้ยมาก
- เปิดบัญชีธนาคารได้ทุกกลุ่มอาชีพ
- ดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ธรรมดา
- ไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยเหมือนการฝากประจำ
- ธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยให้แบบเป็นรายวันตามยอดเงินที่ฝาก
- เงินฝากสามารถนำมาเป็นหลักค้ำประกันในการขอสินเชื่อเงินกู้ได้
คุณสมบัติผู้ฝากออมทรัพย์พิเศษ
- สำหรับบุคคลธรรมดาทั่วไป ผู้ฝากจะต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป
- นิติบุคคลทุกประเภท
อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ธกส ประเภทออมทรัพย์พิเศษ
- การคิดอัตราดอกเบี้ยนั้น ธนาคารจะแบ่งประเภทของผู้ฝากเป็นกลุ่ม มีทั้งหมดจำนวน 5 กลุ่มค่ะ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
วงเงินในการฝาก |
บุคคลธรรมดา | นิติบุคคลทั่วไป | ส่วนราชการ | ผู้ที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ |
เงินฝาก ไม่เกิน 200 ล้านบาท |
อัตราร้อยละ 1.10 ต่อปี | อัตราร้อยละ 0.90 ต่อปี | อัตราร้อยละ 0.80 ต่อปี |
0.00 |
เงินฝาก ตั้งแต่ 200 ล้านบาทขึ้นไป | อัตราร้อยละ 1.10 ต่อปี | อัตราร้อยละ 0.90 ต่อปี | – |
0.00 |
สำหรับผู้ที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ ฝากเงินประเภทออมทรัพย์นั้น จะไม่ได้รับดอกเบี้ยค่ะ และหากส่วนราชการเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษนั้น ธ.ก.ส. จะจำกัดวงเงินรับฝากได้ไม่เกิน 200 ล้านบาทค่ะ ต่อส่วนราชการ และส่วนราชการสามารถเปิดบัญชีได้แค่ 1 บัญชีเท่านั้นและถ้ายอดเงินฝากคงเหลือในบัญชีเหลือต่ำกว่า 10,000 บาท ธนาคารจะให้ดอกเบี้ยในอัตราของเงินฝากออมทรัพย์ค่ะ ทั้งนี้ หากเปิดบัญชีในนามบุคคลธรรมดา ก็จะไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ย แต่ถ้าเปิดบัญชีในนามนิติบุคคลจะต้องเสียภาษีดอกเบี้ย ตามที่กรมสรรพากรกำหนดค่ะ ปัจจุบันกำหนดภาษีดอกเบี้ย จะต้องจ่ายภาษี ณ ที่จ่าย 15% ค่ะ
เงื่อนไขในการเงินฝาก ธกส ประเภทฝากออมทรัพย์พิเศษ
- คุณจะต้องเปิดบัญชีไม่ต่ำกว่า 10,000 บาทค่ะ และในครั้งต่อไปคุณจะฝากเงินเท่าไรก็ได้ค่ะ แต่จะต้องไม่ต่ำกว่า 1,000 บาทค่ะ
เงื่อนไขในการถอนเงินฝาก ธกส ประเภทฝากออมทรัพย์พิเศษ
- สามารถถอนเงินได้เดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งจะต้องถอนเงินไม่ต่ำกว่า 1,000 บาทต่อครั้ง และหากถอนเงินเกิน 1 ครั้งในแต่ละเดือน จะต้องเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 1 บาท ของจำนวนเงินที่ถอน แต่ไม่ต่ำกว่า 500 บาทค่ะ
เอกสารในการเปิดบัญชีเงินฝาก ธกส ประเภทฝากออมทรัพย์พิเศษ
- สำหรับบุคคลธรรมดาที่ต้องการเปิดบัญชีประเภทฝากออมทรัพย์พิเศษ
- บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนา จำนวน 1 ชุด (เซ็นชื่อสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย)
- สำหรับนิติบุคคลที่ต้องการเปิดบัญชีประเภทฝากออมทรัพย์พิเศษ
- บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงเท่านั้น
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทพร้อมด้วยวัตถุประสงค์ คัดไม่เกิน 3 เดือน
- สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของบริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- สำเนาหนังสือบริคณห์สินธิของบริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- รายงานการประชุมของคณะกรรมการบริษัท ซึ่งอนุมัติการทำนิติกรรมกับธนาคารและระบุอำนาจการถอนเงินของบริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- เอกสารแสดงตนของผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- ตัวอย่างตราประทับของบริษัท หรือหนังสือรับรองตราประทับของบริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด
Credit : https://pixabay.com
บัญชีเงินฝากประเภทฝากประจํา ธกส
เงินฝากประจํา ธกส
เงินฝากประจำ นับว่าเป็นการออมเงินอย่างมีเป้าหมายค่ะ จะช่วยสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตของคุณได้ค่ะ ซึ่งการออมเงินประจำนั้น จะทำให้คุณมีวินัยทางการเงินมากขึ้น โดย ธ.ก.ส. มีให้คุณได้เลือกฝากกันตั้งแต่เงินฝากประจำ 3 เดือน, ฝากประจำ 6 เดือน, ฝากประจำ 12 เดือน, ฝากประจำ 24 เดือน, ฝากประจำ 36 เดือน, ฝากประจำ 48 เดือน และฝากประจำ 60 เดือน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากก็จะแตกต่างกันไปตามระยะเวลาที่ฝากประจำค่ะ
เงื่อนไขการฝาก เงินฝากประจํา ธกส
- คุณจะต้องเสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับจากธนาคาร
- เพื่อเป็นการออมเงินหรือสะสมเงินให้เป็นก้อนเพื่ออนาคต
- บุคคลทั่วไป และนิติบุคคล สามารถเปิดบัญชีเงินฝากประจำได้ค่ะ
- สมุดเงินฝากของธนาคารสามารถนำมาขอสินเชื่อได้โดยใช้สมุดค้ำประกัน
- ได้รับดอกเบี้ยที่สูงกว่าเงินฝากประเภทออมทรัพย์ และได้รับดอกเบี้ยในอัตราที่แน่นอน
คุณสมบัติผู้ฝากประจำ ธกส
- ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา จะต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป
- นิติบุคคลทุกประเภท
อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ธกส ประเภทฝากประจํา ธกส
- การคิดอัตราดอกเบี้ยนั้น ธนาคารจะแบ่งตามประเภทของการฝากเงินประจำว่าเลือกกี่เดือนค่ะ และประเภทของผู้ฝากเป็นกลุ่ม มีทั้งหมดจำนวน 5 กลุ่ม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ประเภทเงินฝาก |
บุคคลธรรมดา | นิติบุคคลทั่วไป | ส่วนราชการ | รัฐวิสาหกิจ |
ผู้ที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ |
ฝากประจำ 3 เดือน |
อัตราร้อยละ 0.90 ต่อปี | อัตราร้อยละ 0.90 ต่อปี | อัตราร้อยละ 0.90 ต่อปี | อัตราร้อยละ 0.90 ต่อปี | 0.00 |
ฝากประจำ 6 เดือน | อัตราร้อยละ 1.35 ต่อปี | อัตราร้อยละ 1.15 ต่อปี | อัตราร้อยละ 1.15 ต่อปี |
อัตราร้อยละ 1.15 ต่อปี |
อัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยของผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศตามประเภทของคุณค่ะ |
ฝากประจำ 12 เดือน |
อัตราร้อยละ 1.40 ต่อปี | อัตราร้อยละ 1.40 ต่อปี | อัตราร้อยละ 1.15 ต่อปี | อัตราร้อยละ 1.15 ต่อปี | |
ฝากประจำ 24 เดือน | อัตราร้อยละ 1.50 ต่อปี | อัตราร้อยละ 1.40 ต่อปี | อัตราร้อยละ 1.20 ต่อปี |
อัตราร้อยละ 1.20 ต่อปี |
|
ฝากประจำ 36 เดือน |
อัตราร้อยละ 1.50 ต่อปี | อัตราร้อยละ 1.50 ต่อปี | อัตราร้อยละ 1.50 ต่อปี | อัตราร้อยละ 1.50 ต่อปี | |
ฝากประจำ 48 เดือน |
อัตราร้อยละ 1.50 ต่อปี | อัตราร้อยละ 1.50 ต่อปี | อัตราร้อยละ 1.50 ต่อปี |
อัตราร้อยละ 1.50 ต่อปี |
|
ฝากประจำ 60 เดือน | อัตราร้อยละ 1.50 ต่อปี | อัตราร้อยละ 1.50 ต่อปี | อัตราร้อยละ 1.50 ต่อปี |
อัตราร้อยละ 1.50 ต่อปี |
ทั้งนี้ ในการเลือกฝากประจำนั้น คุณจะต้องคำนวณรายละเอียดต่างๆ รวมถึงการเงินของคุณด้วยนะคะ ว่ามีเงินเหลือเก็บใช่หรือไม่ ไม่ใช่เห็นแค่เพียงดอกเบี้ยที่สูงเท่านั้น นอกจากนี้ การฝากประจำหากคุณเลือกที่จะฝากประจำ 3 เดือนแล้ว เมื่อครบกำหนด 3 เดือน ก็ยังสามารถฝากต่อได้อีกนะคะ
เงื่อนไขในการฝากเงินประเภทเงินฝากประจำ
- คุณจะต้องเปิดบัญชีไม่ต่ำกว่า 1,000 บาทค่ะ และในครั้งต่อไป คุณจะฝากเงินไม่ต่ำกว่า 1,000 บาทต่อครั้งค่ะ
เงื่อนไขในการถอนเงินประเภทเงินฝากประจำ
- สามารถถอนเงินได้ครั้งละไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท
เอกสารในการเปิดบัญชีเงินฝาก ธกส ประเภทเงินฝากประจำ
- สำหรับบุคคลธรรมดาทั่วไป
- บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่จะเปิดบัญชี จำนวน 1 แผ่น (เอกสารจะต้องเซ็นชื่อ สำเนาถูกต้องมาให้เรียบร้อย)
- สำหรับนิติบุคคล
- บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง
- เอกสารบริษัทที่จะใช้ในการเปิดบัญชีธนาคาร
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท จำนวน 1 ชุด
- สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร จำนวน 1 ชุด
- สำเนาหนังสือบริคณห์สินธิ จำนวน 1 ชุด
- รายงานการประชุมของกรรมการบริษัท ที่อนุมัติการทำนิติกรรมกับธนาคารและระบุอำนาจการถอนเงิน จำนวน 1 ชุด
- เอกสารแสดงตนของผู้มีอำนาจลงนาม จำนวน 1 ชุด
- ตัวอย่างตราประทับของบริษัท หรือหนังสือรับรองตราประทับ จำนวน 1 ชุด
เอกสารทั้งหมดของนิติบุคคลจะต้องให้ผู้มีอำนาจลงนามในเอกสารรับรองเอกสารของบริษัทด้วยพร้อมประทับตราบริษัทมาด้วยเพื่อใช้ประกอบการเปิดบัญชีเงินฝาก
บัญชีเงินฝากประเภทฝากออมทรัพย์โครงการ ธกส
เงินฝาก ธกส : เงินฝากปลอดภาษี 24 เดือน
เงินฝากปลอดภาษี 24 เดือน เป็นเงินฝาก ธกสแบบฝากประจำที่ไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝากค่ะ แต่จะต้องฝากเงินทุกเดือน เดือนละเท่าๆกัน เป็นระยะเวลา 24 เดือนค่ะ และที่สำคัญ 1 คน สามารถมีบัญชีเงินฝากปลอดภาษี 24 เดือน ได้แค่ 1 บัญชีเท่านั้นนะคะ หากคุณต้องการออมเงิน และอยากได้ดอกเบี้ยที่สูงร้อยละ 2.50 ต่อปีเลยค่ะ การออมเงินฝากปลอดภาษี 24 เดือน ก็เป็นทางเลือกที่ดีค่ะ จะช่วยทำให้คุณมีเงินก้อนไว้ใช้ในอนาคตได้อีกด้วยค่ะ
จุดเด่นของเงินฝาก ธกส ปลอดภาษี 24 เดือน
- ยกเว้นการเสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก
- ถอนเงินได้จะต้องฝากครบ 24 ครั้งเสียก่อน
- ทำให้คุณมีเงินออมเพื่อเป็นหลักประกันและเงินสำรองไว้ใช้ในอนาคต
- ฝากเงินเดือนละ 1 ครั้ง ๆ ละเท่าๆ กันทุกเดือน เป็นเวลา 24 เดือน
คุณสมบัติผู้ฝากเงินฝากปลอดภาษี 24 เดือน
- บุคคลธรรมดาจะต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป ที่มีสัญชาติไทย และจะต้องอาศัยอยู่ในประเทศไทยเท่านั้นค่ะ
อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ธกส ปลอดภาษี 24 เดือน
- การคิดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำรายเดือนยกเว้นภาษีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.50 ต่อปี
เงื่อนไขในการฝากเงินฝากปลอดภาษี 24 เดือน
- คุณจะต้องฝากเงินเดือนละ 1 ครั้งๆ ละเท่าๆ กันทุกเดือน โดยขั้นต่ำ 1,000 บาท และสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท โดยจะฝากได้เกินถึง 26 ครั้งค่ะ
- หากขาดฝากเกิน 2 ครั้ง จะถือว่าไม่เข้าร่วมเงินฝากปลอดภาษี 24 เดือนค่ะ และจะได้รับดอกเบี้ยเท่ากับเงินฝากออมทรัพย์ และดอกเบี้ยที่ได้รับจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยค่ะ
เงื่อนไขในการถอนเงินฝากปลอดภาษี 24 เดือน
- จะถอนเงินได้ต้องฝากให้ครบ 24 ครั้ง
- หากถอนเงินก่อนระยะเวลา 24 เดือน คุณจะต้องทำการปิดบัญชีเท่านั้น ไม่สามารถถอนเงินเป็นบางส่วนได้ค่ะ
- หากถอนเงินก่อนระยะเวลา 24 เดือน โดยที่ระยะเวลาฝากเงินนั้นไม่ถึง 3 เดือน ธนาคารจะไม่จ่ายดอกเบี้ยให้นะคะ
- หากถอนเงินก่อนระยะเวลา 24 เดือน โดยที่ระยะเวลาฝากเงินนั้นเกิน 3 เดือนขึ้นไป ธนาคารจะให้ดอกเบี้ยเป็นดอกเบี้ยของเงินฝากออมทรัพย์ค่ะ และดอกเบี้ยที่ได้รับนั้นจะต้องเสียภาษีดอกเบี้ย ณ ที่จ่ายด้วยนะคะ
เอกสารในการเปิดบัญชีเงินฝาก ธกส ปลอดภาษี 24 เดือน
- บัตรประชาชนตัวจริง พร้อมกับสำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
เงินฝาก ธกส : เงินออมสัจจะยั่งยืน
เงินฝาก ธกส ประภทเงินออมสัจจะยั่งยืน สำหรับการออมเงินของกลุ่มคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน และวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นการส่งเสริมการออมอีกรูปแบบหนึ่งค่ะ เพราะการออมเงินนี้จะช่วยสร้างวินัยให้กับสมาชิกในชุมชน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี นอกจากนี้ยังจะได้รับเงินช่วยสวัสดิการ และเงินสนับสนุนกิจกรรม ให้กลุ่มชุมชนสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นสถาบันการเงินชุมชนที่เข้มแข็งในอนาคตได้อีกด้วยค่ะ
ใครที่สามารถฝากเงินออมสัจจะยั่งยืน
- จะต้องเป็นกลุ่มออมทรัพย์ หรือกลุ่มเกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน และวิสาหกิจชุมชนเท่านั้น
อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ธกส ประเภทออมสัจจะยั่งยืน
- ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยให้ในอัตราเงินฝากออมทรัพย์ ซึ่งจะจ่ายดอกเบี้ยให้ปีละ 2 ครั้ง (จ่ายครั้งที่ 1 เดือนมีนาคมของทุกปี และครั้งที่ 2 เดือนกันยายนของทุกปี)
- ธนาคารจะจ่ายเงินช่วยสวัสดิการ เมื่อมีเงินฝากคงเหลือถัวเฉลี่ย ณ วันที่ 31 ตุลาคม
- ธนาคารจะจ่ายเงินสนับสนุนกิจกรรม ณ วันที่ 6 ธันวาคมของทุกปี เมื่อมีการฝากเงินต่อเนื่องทุกเดือน
โดยผลตอบแทนที่จะได้รับเงินช่วยสวัสดิการ และเงินสนับสนุนกิจกรรม ธนาคารจะจ่ายให้ 3 รูปแบบ ขึ้นอยู่จำนวนเงินฝากของคุณค่ะ ซึ่งจะมีรายละเอียด ดังนี้
- รูปแบบที่ 1
วงเงินฝาก |
เงินช่วยสวัสดิการ | เงินสนับสนุนกิจกรรม |
ฝากเงินน้อยกว่า หรือ เท่ากับ 10,000 บาท ต่อเดือน |
อัตราร้อยละ 0.15 ต่อปี |
อัตราร้อยละ 0.15 ต่อปี |
ฝากเงินน้อยกว่า หรือ เท่ากับ 120,000 บาท ต่อปี | อัตราร้อยละ 0.15 ต่อปี |
อัตราร้อยละ 0.15 ต่อปี |
- รูปแบบที่ 2
วงเงินฝาก |
เงินช่วยสวัสดิการ |
เงินสนับสนุนกิจกรรม |
ฝากเงินตั้งแต่ 10,001 บาท – 30,000 บาท ต่อเดือน |
อัตราร้อยละ 0.25 ต่อปี | อัตราร้อยละ 0.25 ต่อปี |
ฝากเงินตั้งแต่ 120,001 บาท – 360,000 บาท ต่อปี | อัตราร้อยละ 0.25 ต่อปี |
อัตราร้อยละ 0.25 ต่อปี |
- รูปแบบที่ 3
วงเงินฝาก |
เงินช่วยสวัสดิการ |
เงินสนับสนุนกิจกรรม |
ฝากเงินตั้งแต่ 30,001 บาท ขึ้นไป ต่อเดือน |
อัตราร้อยละ 0.35 ต่อปี | อัตราร้อยละ 0.35 ต่อปี |
ฝากเงินตั้งแต่ 360,001 บาท ขึ้นไป ต่อปี | อัตราร้อยละ 0.35 ต่อปี |
อัตราร้อยละ 0.35 ต่อปี |
เงื่อนไขในการฝากเงิน ธกส ออมสัจจะยั่งยืน
- จะต้องเปิดบัญชีไม่ต่ำกว่า 50 บาท และฝากเงินในครั้งต่อไป จะฝากเงินเท่าไรก็ได้ค่ะ โดยจะต้องฝากต่อเนื่องทุกเดือนเป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งจะนับตั้งแต่วันแรกที่เริ่มเปิดบัญชีค่ะ
เงื่อนไขในการถอนเงินออมสัจจะยั่งยืน
- จะถอนเงินได้จะต้องฝากครบระยะเวลา 5 ปี เสียก่อน ซึ่งนับตั้งแต่วันที่เปิดบัญชี จะถอนเงินได้ก็ต่อเมื่อสมาชิกกลุ่มเสียชีวิตหรือลาออก จะสามารถถอนเงินได้เมื่อฝากเงินครบ 1 ปีค่ะ
- ถอนเงินได้ปีละครั้งและจะต้องแสดงเอกสารประกอบ เช่น ใบมรณะบัตรหรือหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่ม
เปิดบัญชีเงินฝาก ธกส ประเภทเงินออมสัจจะยั่งยืน ใช้เอกสารอะไรบ้าง
- บัตรประชาชนตัวจริง พร้อมกับสำเนาบัตรประชาชนของผู้ที่มีอำนาจในการลงนามค่ะ
- หนังสือจัดตั้งหรือรายงานการประชุมของกลุ่มนั้นๆ
Credit : https://pixabay.com
เงินฝาก ธกส : เงินฝากออมทรัพย์ Senior Savings
เงินฝาก ธกส Senior Savings : ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ สวัสดิการต่างๆของรัฐบาลก็ได้เอื้ออำนวยในด้านต่าง ๆ เช่นเดียวกับธนาคาร ธ.ก.ส. ก็ได้มีบัญชีเงินฝากสำหรับผู้สูงอายุ เป็นเงินฝากออมทรัพย์ Senior Savings เป็นบัญชีใช้จ่ายในชีวิตประจำวันผู้สูงอายุ ที่สะดวกและคล่องตัว ซึ่งได้ดอกเบี้ยเงินฝากอัตราร้อยละ 0.99 ต่อปี ซึ่งผู้ที่เปิดบัญชีนี้ได้จะต้องมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปนะคะ
เงินฝาก ธกส ประเภทเงินฝากออมทรัพย์ Senior Savings ผู้ฝากต้องคุณสมบัติอย่างไร
- จะต้องมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และจะต้องมีสัญชาติไทย
อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ธกส เงินฝากออมทรัพย์ Senior Savings
- การคิดอัตราดอกเบี้ยธนาคารจะแบ่งเป็น 2 ช่วงค่ะ เพราะจะขึ้นอยู่เงินฝากของคุณค่ะ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ค่ะ
- เงินฝากคงเหลือมากกว่า หรือเท่ากับ 20,000 บาท คุณจะได้รับดอกเบี้ยร้อยละ 0.99 ต่อปีค่ะ
- เงินฝากคงเหลือน้อยกว่า 20,000 บาท จะได้รับดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 ต่อปีค่ะ ซึ่งจะเป็นดอกเบี้ยเท่ากับเงินฝากประเภทออมทรัพย์ค่ะ
เงื่อนไขในการฝากเงินฝากออมทรัพย์ Senior Savings
- คุณจะต้องเปิดบัญชีอย่างน้อย 100 บาทขึ้นไป และในครั้งต่อไปจะฝากเงินเท่าไรก็ได้ไม่จำกัดจำนวนและจำกัดครั้งค่ะ ซึ่งไม่จำเป็นต้องฝากประจำทุกเดือนนะคะ
เงื่อนไขในการถอนเงินฝากออมทรัพย์ Senior Savings
- ต้องการถอนเงินเมื่อไรก็ได้ค่ะ เพราะธนาคารไม่ได้จำกัดจำนวนเงิน และจำนวนครั้งในการถอนเงินค่ะ คุณสามารถถอนเงินผ่านทางเคาน์เตอร์บริการทุกสาขาของ ธ.ก.ส. หรือจะถอนเงินโดยผ่านตู้ ATM ก็ได้ค่ะ จะทำให้สะดวกมากยิ่งขึ้นค่ะ
เอกสารในการเปิดบัญชีเงินฝาก ธกส เงินฝากออมทรัพย์ Senior Savings
- บัตรประชาชนตัวจริง พร้อมกับสำเนาบัตรประชาชน
บัญชีเงินฝากประเภทเงินฝากกระแสรายวัน ธกส
เงินฝาก ธกส : เงินฝากกระแสรายวัน
เงินฝากกระแสรายวัน โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้เป็นบัญชีหมุนเวียนในการทำธุรกิจ เพื่อความสะดวก คล่องตัวของธุรกิจ เพื่อให้ง่ายต่อการฝากเงิน ถอนเงิน โดยสามารถถอนเงินด้วยเช็คได้ค่ะ หากเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของ ธ.ก.ส. ยังจะช่วยสร้างเครดิตและความน่าเชื่อถือของคุณอีกด้วยค่ะ และที่สำคัญคุณไม่ต้องพกเงินสดเป็นจำนวนมาก ซึ่งก็จะสอดคล้องยุคดิจิทัล ที่เป็นสังคมไร้เงินสดอีกด้วยค่ะ
ผู้ฝากเงินฝาก ธกส ประเภทเงินฝากกระแสรายวัน จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
- สำหรับบุคคลธรรมดา
- จะต้องบรรลุนิติภาวะแล้ว
- สำหรับนิติบุคคลทุกประเภท ได้แก่
- บริษัทจำกัด
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
- สมาคม
- มูลนิธิ
อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ธกส ประเภทเงินฝากกระแสรายวัน
- เงินฝากกระแสรายวันจะไม่มีดอกเบี้ยให้ค่ะ
เงื่อนไขในการฝากเงินฝากกระแสรายวัน
- เปิดบัญชีครั้งแรกจะต้องฝากอย่างน้อย 10,000 บาทขึ้นไป และหากฝากในครั้งต่อไปธนาคารไม่กำหนดจำนวนเงินฝากจะฝากเท่าไรก็ได้ กี่ครั้งก็ได้ โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องฝากประจำต่อเนื่องทุกเดือน
เงื่อนไขในการถอนเงินฝากกระแสรายวัน
- สามารถถอนเงินได้ตลอดเวลาตามที่ต้องการ ไม่กำหนดยอดเงินขั้นต่ำ ไม่กำหนดจำนวนครั้งในการถอน สามารถถอนได้ทั้งเงินสดหรือเช็ค ซึ่งการถอนจะขึ้นกับยอดเงินคงเหลือในบัญชีค่ะ
เอกสารในการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน
- กรณีเปิดบัญชีในนามบุคคลธรรมดา
- บัตรประชาชนตัวจริงและสำเนาบัตรประชาชน
- กรณีเปิดบัญชีในนามนิติบุคคล
- บัตรประชาชนตัวจริงของกรรมการผู้จัดการหรือผู้มอบอำนาจแทนในการเปิดบัญชี
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนของนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์ทุกหน้า
- สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรขององค์กร
- สำเนาหนังสือบริคณห์สินธิแบบเต็มชุด
- รายงานการประชุมของคณะกรรมการบริษัท ซึ่งอนุมัติการทำนิติกรรมกับธนาคารและระบุมอบอำนาจในการเบิกถอนเงินให้กับใคร
- เอกสารแสดงตนของผู้มีอำนาจลงนาม เช่น สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้จัดการ
- ตัวอย่างตราประทับของบริษัทหรือหนังสือรับรองตราประทับสามารถเลือกใช้แบบไหนก็ได้
เงินฝาก ธกส : กระแสรายวัน Plus
กระแสรายวัน Plus เป็นบัญชีสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลและนิติบุคคล เพื่อเป็นเงินไว้ใช้จ่ายสำหรับหมุนเวียนช่วยเสริมสภาพคล่องในธุรกิจ เพราะธุรกิจส่วนใหญ่แล้วจะมีเงินหมุนเวียนทุกวันค่ะ จึงทำให้ผู้ประกอบการจะต้องเปิดเป็นบัญชีกระแสรายวันค่ะ ซึ่งบัญชีกระแสรายวัน Plus ก็จะมีลักษณะคล้ายๆกับ บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ต่างกันเพียงแค่อัตราดอกเบี้ยค่ะ เพราะถ้าเป็นเงินฝากกระแสรายวัน Plus ธนาคารจะให้ดอกเบี้ย โดยคิดเป็นรายวัน และทบเป็นต้นเงินให้ทุกสิ้นเดือน แต่คุณจะต้องมีเงินในบัญชี 10,000 บาทนะคะ ถึงจะได้ดอกเบี้ยค่ะ
คุณสมบัติผู้ฝาก เงินฝาก ธกส แบบเงินฝากกระแสรายวันพลัส
- หากเป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งจะต้องบรรลุนิติภาวะแล้วนะคะ
- นิติบุคคลทุกประเภทค่ะ
อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ธกส กระแสรายวัน Plus
- เงินฝากกระแสรายวันพลัสจะได้รับดอกเบี้ยก็ต่อเมื่อถ้าคุณมีเงินฝากคงเหลือสิ้นวันมากกว่า 10,000 บาทขึ้นไป ก็จะได้รับดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากประเภทออมทรัพย์ ซึ่งปัจจุบันดอกเบี้ยออมทรัพย์อยู่ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี และถ้าหากเงินฝากคงเหลือสิ้นวันน้อยกว่า 10,000 บาท คุณก็จะไม่ได้รับดอกเบี้ยจากธนาคารค่ะ
ทั้งนี้ การคิดดอกเบี้ยของธนาคารนั้น จะคิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน และทบเป็นต้นเงินให้ทุกสิ้นเดือนค่ะ และสำหรับผู้ประกอบการที่เปิดบัญชีในนามบุคคลและนิติบุคคล หากได้รับดอกเบี้ยเงินฝากกระแสรายวันพลัส คุณจะต้องเสียภาษีดอกเบี้ยด้วยนะคะ
เงื่อนไขในการฝากเงินฝากกระแสรายวันพลัส
- คุณจะต้องเปิดบัญชีอย่างน้อย 10,000 บาทขึ้นไป และในครั้งต่อไปจะฝากเงินเท่าไรก็ได้ไม่จำกัดจำนวนและจำกัดครั้งค่ะ ซึ่งไม่จำเป็นต้องฝากประจำทุกเดือนนะคะ
เงื่อนไขในการถอนเงินฝากกระแสรายวันพลัส
- ต้องการถอนเงินเมื่อไรก็ได้ค่ะ เพราะธนาคารไม่ได้จำกัดจำนวนเงิน และจำนวนครั้งในการถอนเงินค่ะ และสามารถถอนเงินเป็นเช็คได้ค่ะ ตามวงเงินที่คุณมีเลยค่ะ หรือจะเพิ่มความสะดวกก็ยังสามารถถอนเงินโดยผ่าน ATM ได้อีกด้วยนะคะ
เอกสารในการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันพลัส
- ในกรณีที่เปิดบัญชีในนามบุคคลธรรมดา จะต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
- บัตรประชาชนตัวจริง พร้อมกับสำเนาบัตรประชาชน
- ในกรณีที่เปิดบัญชีในนามนิติบุคคล จะต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
- บัตรประชาชนตัวจริง สำหรับผู้ที่ติดต่อขอเปิดบัญชีค่ะ
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน
- สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
- สำเนาหนังสือบริคณห์สินธิ
- รายงานการประชุมของคณะกรรมการบริษัท ซึ่งอนุมัติการทำนิติกรรมกับธนาคารและระบุอำนาจการถอนเงิน
- เอกสารแสดงตนของผู้มีอำนาจลงนาม
- ตัวอย่างตราประทับของบริษัท หรือหนังสือรับรองตราประทับ
Credit : https://pixabay.com
ทุกคำถาม – คำตอบ ที่เกี่ยวกับเงินฝากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (เงินฝาก ธกส)
เงินฝากประเภทออมทรัพย์มีกี่แบบ?
- เงินฝากประเภทออมทรัพย์ของ ธ.ก.ส. มีทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้
- เงินฝากออมทรัพย์
- เงินฝากออมทรัพย์ทวีโชค
- เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ
เงินฝากประเภทออมทรัพย์มีความแตกต่างกันอย่างไร?
- เงินฝากออมทรัพย์แต่ละประเภทนั้นมีความแตกต่าง ในเรื่องการอัตราดอกเบี้ย การถอนเงิน การฝากเงิน ซึ่งเราได้นำข้อแตกต่างมาเปรียบเทียบให้คุณเห็นภาพเลยค่ะ
- ในการเปิดบัญชีของแต่ประเภทค่ะ
- เงินฝากออมทรัพย์ จะต้องเปิดบัญชีไม่ต่ำกว่า 50 บาท
- เงินฝากออมทรัพย์ทวีโชค จะต้องเปิดบัญชีไม่ต่ำกว่า 50 บาท
- เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ จะต้องเปิดบัญชีไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท
- การฝากเงินและถอนเงินของแต่ประเภทค่ะ
- เงินฝากออมทรัพย์ คุณจะฝากเงิน หรือถอนเงิน เท่าไรก็ได้ไม่จำกัดจำนวนเงิน และจำนวนครั้งค่ะ
- เงินฝากออมทรัพย์ทวีโชค คุณจะฝากเงิน หรือถอนเงิน เท่าไรก็ได้ไม่จำกัดจำนวนเงิน และจำนวนครั้งค่ะ
- เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ คุณจะต้องฝากครั้งละไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท และถอนเงินได้ไม่เกิน 1 ครั้งต่อเดือนค่ะ โดยจะต้องถอนเงินครั้งหนึ่งไม่ต่ำกว่า 1,000 บาทค่ะ และหากถอนเงินเกิน 1 ครั้งในแต่ละเดือน คุณจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในร้อยละ 1 จากจำนวนเงินที่ถอนค่ะ
- อัตราดอกเบี้ยของแต่ประเภทค่ะ
- เงินฝากออมทรัพย์ จะได้รับดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 ต่อปีค่ะ
- เงินฝากออมทรัพย์ทวีโชค จะได้รับดอกเบี้ยร้อยละ 0.70 ต่อปีค่ะ
- เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ จะได้รับดอกเบี้ยร้อยละ 1.10 ต่อปีค่ะ
ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยที่ได้แจ้งนั้น เป็นอัตราดอกเบี้ยสำหรับบุคคลธรรมดานะคะ หากคุณเป็นฝากในนามส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือผู้ประกอบการ สามารถดูอัตราดอกเบี้ยแบบละเอียดได้ในด้านบนเลยค่ะ และที่พิเศษไปกว่านั้นก็คือ เงินฝากออมทรัพย์ทวีโชค นอกจากจะได้ออมเงินแล้วยังจะสิทธิ์ร่วมลุ้นรับโชคด้วยค่ะ
เงินฝากประเภทออมทรัพย์ทวีโชค ต้องฝากเงินเท่าไรจึงจะมีสิทธิ์ชิงโชค?
- เงินฝากออมทรัพย์ทวีโชค คุณจะต้องมียอดเงินฝากคงเหลือทุกๆ 2,000 บาท หากฝากติดต่อกันทุกๆ 3 เดือนในแต่ละรอบการดำเนินการ เพื่อนๆจะได้รับสิทธิ์จับรางวัล 1 สิทธิ์ค่ะ
- และมียอดเงินฝากคงเหลือทุกๆ 5,000 บาท หากฝากติดต่อกันทุกๆ 3 เดือนในแต่ละรอบการดำเนินการ เพื่อนๆจะได้รับสิทธิ์จับรางวัลเพิ่มอีก 3 สิทธิ์เลยค่ะ
เงินฝากประจํา ธกส มีกี่เดือนบ้าง?
- เงินฝากประจำของ ธ.ก.ส. นั้น มีฝากประจำทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่
- เงินฝากประจำ 3 เดือน
- เงินฝากประจำ 6 เดือน
- เงินฝากประจำ 12 เดือน
- เงินฝากประจำ 24 เดือน
- เงินฝากประจำ 36 เดือน
- เงินฝากประจำ 48 เดือน
- เงินฝากประจำ 60 เดือน
เงินฝากดอกเบี้ยสูง ธกส มีข้อแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?
- โดยทั่วไปแล้วเงินฝากประจำนั้นจะมีเงื่อนไขในการฝากเหมือนกันค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชีที่ขั้นต่ำอยู่ที่ 1,000 บาทค่ะ และในการถอนเงินจะถอนได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท โดยที่คุณไม่ต้องฝากเงินประจำทุกเดือนค่ะ ในส่วนของข้อแตกต่างนั้น จะต่างกันที่อัตราดอกเบี้ยค่ะ ดังนี้
- เงินฝากประจำ 3 เดือน เมื่อฝากครบกำหนด จะได้รับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 0.90 ต่อปี
- เงินฝากประจำ 6 เดือน เมื่อฝากครบกำหนด จะได้รับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.35 ต่อปี
- เงินฝากประจำ 12 เดือน เมื่อฝากครบกำหนด จะได้รับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.40 ต่อปี
- เงินฝากประจำ 24 เดือน เมื่อฝากครบกำหนด จะได้รับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.50 ต่อปี
- เงินฝากประจำ 36 เดือน เมื่อฝากครบกำหนด จะได้รับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.50 ต่อปี
- เงินฝากประจำ 48 เดือน เมื่อฝากครบกำหนด จะได้รับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.50 ต่อปี
- เงินฝากประจำ 60 เดือน เมื่อฝากครบกำหนด จะได้รับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.50 ต่อปี
ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยที่ได้แจ้งนั้น เป็นอัตราดอกเบี้ยสำหรับบุคคลธรรมดานะคะ หากคุณเป็นฝากในนามส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือผู้ประกอบการ สามารถดูอัตราดอกเบี้ยแบบละเอียดได้ในด้านบนเลยค่ะ และการฝากประจำนั้น จะต้องเสียภาษีดอกเบี้ยด้วยนะคะ
จะต้องเสียภาษีดอกเบี้ยเท่าไร?
- เมื่อคุณได้รับดอกเบี้ยจากการฝากประจำนั้น จะต้องเสียภาษี ณ จ่าย ร้อยละ 15 ต่อปีค่ะ โดยธนาคารจะเป็นผู้หักภาษี และนำเงินดอกเบี้ยส่วนที่เหลือให้กับคุณค่ะ
ต้องการออมเงิน ฝากเงินประเภทไหนแล้วจะได้ดอกเบี้ยสูงค่ะ?
- หากคุณต้องการออมเงิน ควรจะเลือกเงินฝากปลอดภาษี 24 เดือน เพราะนอกจากจะปลอดภาษีแล้ว ยังจะได้รับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.50 ต่อปีค่ะ
ต้องการเปิดบัญชีเงินฝากปลอดภาษี 24 เดือน สามารถเปิดได้กี่บัญชี?
- เงินฝากปลอดภาษี 24 เดือน คุณสามารถเปิดได้แค่ 1 บัญชีเท่านั้นค่ะ โดยที่จะต้องเลือกว่าจะเปิดบัญชีกับธนาคารไหน และถ้าหากมีการเปิดบัญชีซ้ำ บัญชีที่ 2 คุณก็จะต้องเสียภาษีดอกเบี้ยค่ะ
เงินฝากกระแสรายวัน และเงินฝากกระแสรายวันพลัส ต่างกันอย่างไร?
- เงินฝากกระแสรายวัน และเงินฝากกระแสรายวันพลัส สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลและนิติบุคคล ที่ไว้ใช้หมุนเวียน เพื่อธุรกิจค่ะ ข้อแตกต่างที่เด่นๆเลยก็คือ
- เงินฝากกระแสรายวัน ไม่มีดอกเบี้ย
- เงินฝากกระแสรายวันพลัส จะได้รับดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 ต่อปี เมื่อคุณมีเงินฝากคงเหลือสิ้นวันมากกว่า 10,000 บาทขึ้นไปเท่านั้นค่ะ หากไม่ถึงก็จะไม่ได้รับดอกเบี้ยเช่นเดียวกับเงินฝากกระแสรายวัน
ธ.ก.ส. มีบัญชีเงินฝากสำหรับผู้สูงอายุหรือไม่?
- ธ.ก.ส. มีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ Senior Savings ซึ่งเป็นบัญชีสำหรับผู้สูงอายุค่ะ โดยผู้ที่จะสามารถเปิดบัญชีได้นั้นจะต้องมีอายุ 50 ปีขึ้นไปค่ะ ซึ่งจะต้องเปิดบัญชีขั้นต่ำ 100 บาทค่ะ
อัตราดอกเบี้ย เงินฝากออมทรัพย์ Senior Savings เท่าไร?
- ในกรณีที่เงินฝากคงเหลือสิ้นวันมากกว่าหรือเท่ากับ 20,000 บาท คุณก็จะได้รับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.99 ต่อปี
- ในกรณีที่เงินฝากคงเหลือสิ้นวันน้อยกว่า 20,000 บาท คุณก็จะได้รับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 ต่อปีค่ะ
- ที่สำคัญคือดอกเบี้ยที่ได้รับนั้น จะไม่ต้องเสียภาษี ณ ที่จ่ายด้วยค่ะ
ใครที่สามารถฝากเงินออมสัจจะยั่งยืนได้บ้าง?
- เงินฝากออมสัจจะยั่งยืนนั้น สำหรับกลุ่มออมทรัพย เช่น กลุ่มเกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน และวิสาหกิจชุมชน เท่านั้นจึงสามารถเปิดบัญชีนี้ได้ค่ะ
สิทธิประโยชน์ของการฝากเงินออมสัจจะยั่งยืนมีอะไรบ้าง?
- สำหรับผู้ฝากนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์ โดยได้รับเงินช่วยสวัสดิการ และเงินสนับสนุนกิจกรรม ซึ่งจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของธนาคารค่ะ
- ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.50 ต่อปี
จะได้รับเงินช่วยสวัสดิการ และเงินสนับสนุนกิจกรรม ของการฝากเงินออมสัจจะ ธนาคารจะจ่ายให้เท่าไร?
- เงินช่วยสวัสดิการที่จะได้รับ ซึ่งจะมีเงื่อนไขการฝาก ดังนี้
- หากฝากเงินน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาทต่อเดือน หรือฝากเงินน้อยกว่าหรือเท่ากับ 120,000 บาทต่อปี จะได้รับในอัตราร้อยละ 0.15 ต่อปี
- หากฝากเงินตั้งแต่ 10,001บาท – 30,000 บาทต่อเดือน หรือฝากเงินตั้งแต่ 120,001 บาท – 360,000 บาทต่อปี จะได้รับในอัตราร้อยละ 0.25 ต่อปี
- หากฝากเงินตั้งแต่ 30,001 บาทขึ้นไปต่อเดือน หรือฝากเงินตั้งแต่ 360,001 บาทขึ้นไปต่อปี จะได้รับในอัตราร้อยละ 0.35 ต่อปี
- เงินสนับสนุนกิจกรรมที่จะได้รับ ซึ่งจะมีเงื่อนไขการฝาก ดังนี้
- หากฝากเงินน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาทต่อเดือน หรือฝากเงินน้อยกว่าหรือเท่ากับ 120,000 บาทต่อปี จะได้รับในอัตราร้อยละ 0.15 ต่อปี
- หากฝากเงินตั้งแต่ 10,001บาท – 30,000 บาทต่อเดือน หรือฝากเงินตั้งแต่ 120,001 บาท – 360,000 บาทต่อปี จะได้รับในอัตราร้อยละ 0.25 ต่อปี
- หากฝากเงินตั้งแต่ 30,001 บาทขึ้นไปต่อเดือน หรือฝากเงินตั้งแต่ 360,001 บาทขึ้นไปต่อปี จะได้รับในอัตราร้อยละ 0.35 ต่อปี
หากสนใจหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ทางไหนบ้าง?
- หากสนใจเงินฝากประเภทใด หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามกับเจ้าหน้าที่ได้ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทุกสาขา ทั่วประเทศ หรือโทรสอบถามได้ที่ Call Center 02-555-5555
เป็นยังไงกันบ้างค่ะ กับเงินฝากของธนาคาร ธ.ก.ส. ที่เราได้นำมาฝากกันในวันนี้ คงจะช่วยในการตัดสินใจการฝากเงินของเพื่อนๆนะคะ ไม่ว่าจะเลือกเงินฝากแบบไหนก็ดีหมดค่ะ แค่คิดที่เริ่มการออมเงินก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดีแล้วค่ะ ออมวันนี้ สบายวันหน้านะคะ หากเพื่อนๆคนไหนที่สนใจเงินฝากของธนาคารอื่นๆ ก็สามารถอ่านได้จากเว็บไซต์ของ imoney นะคะ เพราะทีมงานเราทุกคนตั้งใจหาข้อมูลดีๆ ที่เป็นประโยชน์กับเพื่อนๆมาฝากกันเสมอค่ะ ไม่ว่าอยากออมเงินแบบไหนเราก็มาบอกค่ะ หรือว่าเป็นหนี้แล้วต้องการรีไฟแนนซ์ก็สามารถหาคำตอบได้ที่ iMoney นะคะ เพราะเรารวบรวมทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการเงินมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันแบบที่ครบเรื่อง ตอบโจทย์ทุกความต้องการกันเลยค่ะ สำหรับวันนี้ขอขอบคุณเพื่อนๆที่สละเวลามาอ่านบทความนะคะ และในบทความหน้าเราจะมีอะไรมาแนะนำอย่าลืมติดตาม และเป็นกำลังใจให้กับพวกเราชาว iMoney ด้วยนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลสำคัญจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร www.baac.or.th